การจัดรูปแบบการเรียนการสอนแบบออนไลนืจะต้องมีการประยุกต์ใช้ในการศึกษาในสถานการณ์ปัจจุบัน

เพื่ออธิบายถึงสถานการณ์การแพร่ระบาทของโควิด 19 กับการเรียนการสอนออนไลน์ในรายวิชา การแสดงนาฏศิลป์ ซึ่งการแพร่กระจายของไวรัสโคโรน่า ส่งผลกระทบต่อระบบการศึกษาอย่างมาก ผู้เรียนและผู้สอนต้องปรับเข้าสู่การเรียนสอนแบบออนไลน์ เพื่อให้การเรียนการสอนดำเนินไปได้ ซึ่งการสอนในรายวิชา การแสดงนาฏศิลปืจะต้องปรับเปลี่ยนมาเป็นการเรียนแบบทฤษฏ๊ โดยการใช้โปรแกรม  e-Learning srry  https://e-learning.srru.ac.th/course/view.php?id=2724

เพื่อเป็นการทำกิจกรรมในการเรียน ซึ่งในโปรแกรมนี้ จะมีทั้ง เนื้อหาการสอน สื่อการสอน เแบบทดสอบ การทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งวิธีการเข้าเรียนนั้น จะต้องกดเข้าไปที่ลิ้งคืที่ครูส่งให้นักเรียน จากนั้นใส่รหัส 1112 เข้า 

ข้อดีข้อเสียการเรียนออนไลน์

ข้อดี

     1. นักศึกษาเข้าเรียนเกือบ 100% ทุกคาบ เพราะการเรียนในชั้นเรียนปกติมักจะพบปัญหานักศึกษาขาดเรียนหรือโดดเรียน สารพัดข้ออ้างจริงเท็จบ้างก็มี แต่พอเรียนออนไลน์ แม้ป่วยไม่หนักหนาสาหัสก็ยังสามารถเปิดอินเตอร์เน็ตโปรแกรมเข้ารียนได้

     2. เข้าเรียนตรงเวลามากขึ้น เพราะไม่ต้องเดินทาง ไม่มีความเสี่ยงเรื่องปัญหาจราจร พอถึงเวลาใครที่ยังไม่ log in เข้ามาก็โทรถามไถ่ตามตัวได้ว่านักศึกษามีปัญหาอะไร

     3. เรียนไปด้วย ช่วยงานที่บ้านไปด้วยก็ได้ หรือดูแลผู้ปกครองพ่อแม่ ที่อาจจะป่วยอยู่ที่บ้านด้วย

     4. ลดภาระค่าใช้จ่าย อันนี้แน่นอนครับไม่ต้องมาเช่าหอพัก ไม่ต้องเดินทาง และไม่ต้องมากินข้าวนอกบ้านหรืออาจโดนเพื่อนชวนไปเที่ยวกันต่อก็ได้

     5. กลับมาเรียนซ้ำ เรียนชดเชยได้ เพราะทุกโปรแกรมออนไลน์สามารถบันทึกระหว่างเรียนไว้ได้ เรียนแล้วไม่เข้าใจสามารถกดย้อนกลับมาดูได้ คนที่ขาดเรียนก็มาเรียนย้อนหลังได้

     6. อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ ขอให้มีอินเทอร์เนต ช่วงไวรัส Covid-19 แพร่ระบาดนักศึกษาบางคนไปเป็น อาสาสมัครช่วยชุมชนในจังหวัดต่างๆ ก็ทำหน้าที่เป็นนักวิจัย เก็บข้อมูลมาเสนอให้เพื่อนที่อยู่จังหวัดอื่นได้เห็นได้ฟังสดๆกันไปเลยก็มี

     7. กล้าและมั่นใจได้การแสดงความคิดเห็นมากขึ้น เพราะไม่ต้องแสดงตัวตน อากัปกิริยาหน้าชั้นเรียนหรือในห้องเรียน ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตนทั้งหมด

   

ข้อเสีย

     1. ต้องเข้มงวด เช่น ต้องเปิดกล้องสดๆ ตลอดเวลา เพราะอาจมีบ้างที่นักศึกษาปิดกล้อง โชว์รูปนิ่งแล้วหนีไปทำอย่างอื่นหรือไม่ตั้งใจเรียน

     2. การพัฒนาความสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยตรง กับอาจารย์และเพื่อนๆ นักศึกษาทำได้ยากกว่า

     3. อาจต้องจ่ายค่าซอฟต์แวร์ที่อัปเดตเพื่อเข้าถึงโปรแกรมออนไลน์หรือจ่ายเงินเพิ่มเพื่ออัปเกรดเป็นอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือต้องพัฒนาทักษะในการใช้แต่ละโปรแกรมตลอดเวลา (technology skills)

     4. ตรวจสอบความสงสัยและความเข้าใจของนักศึกษาอาจทำได้ยากกว่าเพราะในห้องเรียนสามารถกุมสภาพได้ละเอียดกว่าว่าใครทำหน้ามึนงง สงสัย หรืออยากถามแต่ไม่กล้าถาม

     5. การสร้างแรงจูงใจ (motivation) ในห้องเรียนปกติทำได้ดีกว่า กระตุ้นได้ดีกว่า เพราะเป็นการเผชิญหน้ากันทำให้เห็นสภาพความพร้อมหรือไม่พร้อมของนักศึกษาแต่ละคนได้ละเอียดกว่า