การเรียนขลุ่ย ในเวลาว่างช่วงโควิด ทำให้เรามีความรู้เเละมีวิชาดนตรีติดตัว นำไปใช่ประโยชน์ได้ในทางดนตรี ขึ้นเเสดงงานต่างๆได้ ขลุ่ยมีความไพเราะเเละเรียนง่ายเหมาะเเก่การใช่เป็นเครื่องดนตรี ชิ้นเเรก
ประวัติขลุ่ยเพียงออ
ขลุ่ยเพียงออ เป็นเครื่องดนตรีไทย ประเภทเครื่องเป่าชนิดไม่มีลิ้น ทำจากไม้รวกปล้องยาวๆ ด้านหน้าเจาะรูเรียงกัน สำหรับปิดเปิดเพื่อเปลี่ยนเสียง ตรงที่เป่าไม่มีลิ้นแต่มีดาก ซึ่งทำด้วยไม้อุดเหลาเป็นท่อนกลมๆยาวประมาณ ๒ นิ้ว สอดลงไปอุดที่ปากของขลุ่ย แล้วบากด้านหนึ่งของดากเป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ เราเรียกว่า ปากนกแก้ว เพื่อให้ลมส่วนหนึ่งผ่านเข้าออกทำให้เกิดเสียงขลุ่ยลมอีกส่วนจะวิ่งเข้าไปปลายขลุ่ยประกอบกับนิ้วที่ปิดเปิดบังคับเสียงเกิดเป็นเสียงสูงต่ำตามต้องการได้ปากนกแก้วลงมาเจาะ ๑ รู เรียกว่า รูนิ้วค้ำ เวลาเป่าต้องใช้หัวแม่มือค้ำปิดเปิดที่รูนี้ บางเลาด้านขวาเจาะเป็นรูเยื่อ ปลายเลาขลุ่ยมีรู ๔ รู เจาะตรงกันข้ามแต่เหลื่อมกันเล็กน้อย ใช้สำหรับร้อยเชือกแขวนเก็บหรือคล้องมือจึงเรียกว่า รูร้อยเชือก รวมขลุ่ยเลาหนึ่งมี ๑๔ รูด้วยกัน
รูปร่างของขลุ่ยเมือพิจารณาแล้วจะเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง จากหลักฐานที่พบขลุ่ยในหีบศพภรรยาเจ้าเมืองไทยที่ริมฝั่งแม่น้ำฮวงเหอ ซึ่งมีหลักฐานจารึกศักราชไว้ไม่ต่ำกว่า ๒,๐๐๐ ปี ปัจจุบันขลุ่ยมีราคาสูง เนื่องจากไม้รวกชนิดที่ทำขลุ่ยมีน้อยลงและใช้เวลาทำมากจึงใช้วัตถุอื่นมาเจาะรูซึ่งรวดเร็วกว่า เช่น ไม้เนื้อแข็ง ไม้ไผ่ ไม้ชิงชัน ไม้พยุง บางครั้งอาจทำจากท่อพลาสติกแต่คุณภาพเสียงไม่ดีเท่าขลุ่ยไม้ ขลุ่ยที่มีเสียงไพเราะมากส่วนใหญ่จะเป็นขลุ่ยผิวไม้แห้งสนิท
ขลุ่ยใช้เป่าในวงเครื่องสายไทย วงมโหรี และในวงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
การเทียบเสียงขลุ่ยเพียงออกับระดับเสียงดนตรีสากล
เสียงโดของขลุ่ยเพียงออ เทียบได้เท่ากับ เสียง ทีแฟล็ต ในระดับเสียงทางสากล ปัจจุบันได้มีการทำขลุ่ยเพียงออที่มีระดับเสียงเท่ากับระดับเสียงสากล เรียกว่าขลุ่ยเพียงออ ออร์แกนบ้าง หรือขลุ่ยกรวดบ้าง แต่ในทางดนตรีสากลจะเรียกเป็นขลุ่ยไทยหมด จะเอาระดับเสียงมาเป็นตัวแยกขนาดเช่น ขลุ่ยคีย์ C, ขลุ่ยคีย์ D, ขลุ่ยคีย์Bb, ขลุ่ยคีย์ G เป็นต้น
- ดาก คือ ไม้อุดปากขลุ่ย นิยมใช้ในไม้สักทอง เหลากลมให้คับแน่นกับร่องภายในของปากขลุ่ย ฝานให้เป็น
- รูเป่า เป็นรูสำหรับเป่าลมเข้าไป
- รูปากนกแก้ว เป็นรูที่เจาะร่องรับลม จากปลายดากภายในขลุ่ย อยู่ด้านเดียวกับรูเป่า อยู่สุดปลายดากพอดี
- รูเยื่อ เป็นรูสำหรับปิดวัสดุที่ทำให้เสียงสั่นพริ้ว มักใช้เยื่อไม้ไผ่ หรือเยื่อหัวหอมปิด อยู่ด้านขวามือ ในปัจจุบัน
- รูค้ำ หรือรูนิ้วค้ำ เป็นรูสำหรับให้นิ้วหัวแม่มือปิด เพื่อบังคับเสียง และประคองเลาขลุ่ยขณะเป่า อยู่ด้านล่าง
- รูบังคับเสียง เป็นรูที่เจาะเรียงอยู่ด้านบนของเลาขลุ่ย มีอยู่ ๗ รู ด้วยกัน
- รูร้อยเชือก มี ๔ รู หรือ ๒ รูก็ได้ อยู่ทางส่วนปลายของเลาขลุ่ย โดยการเจาะทะลุบน-ล่าง และ ซ้าย-ขวา ให้
วิธีเป่าขลุ่ยเพียงออ
ให้เผยอริมฝีปากด้านบนและล่างจรดลงบนรูปากเป่า จัดเลาขลุ่ยให้ตั้งได้มุมประมาณ ๔๕ องศา กับลำตัวโดยทอดแขนไว้ข้างลำตัวพองาม (ไม่กางศอกมากจนเกินไป) เป่าลมให้เหมาะสมไม่เบาและแรงจนเกินไป
ท่านั่งเป่าขลุ่ยเพียงออ
การเล่นเครื่องดนตรีไทยทุกชนิด นักดนตรีต้องสำรวมกิริยามารยาทปฏิบัติให้เรียบร้อย ให้ความเคารพต่อครูบาอาจารย์ เครื่องดนตรี ผู้ฟัง ตลอดจนนักดนตรีด้วยกันเอง การนั่งเป่าขลุ่ยต้องนั่งตัวตรงเพื่อให้ลมเดินสะดวก ไม่นั่งก้มหน้า ถ้านั่งกับพื้นควรนั่งพับเพียบ
ท่าจับขลุ่ยเพียงออ
การจับขลุ่ยแบบไทยโดยประเพณีนิยมมาแต่โบราณจะจับเอามือขวาอยู่ข้างบนมือซ้าย(แต่ถ้าจับแบบสากลนิยมจับเอามือซ้ายไว้ด้านบนมือขวาไว้ด้านล่าง) ซึ่งสันนิษฐานว่าคนส่วนใหญ่ถนัดมือขวามากกว่ามือซ้าย
วิธีจับขลุ่ยเพียงออ
มือบนจับเลาขลุ่ย ๓ รูด้วยนิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนาง อยู่ในลักษณะที่พร้อมจะปิด-เปิดรูบังคับเสียง (ซึ่งอยู่ด้านบนของเลาขลุ่ย) เรียงลงมาตามลำดับตั้งแต่รูที่อยู่บนสุดถึงรูที่สาม นิ้วหัวแม่มือปิดรูค้ำด้านหลังไว้ พร้อมทั้งใช้นิ้วก้อยประคองด้านล่างของเลาขลุ่ยไว้มือล่างจับเลาขลุ่ยส่วนล่าง ๔ รู ด้วยนิ้วชี้ นิ้วนาง นิ้วกลางและนิ้วก้อย เรียงลงมาตามลำดับนิ้วหัวแม่มือยันขลุ่ยด้านหลัง จับเลาขลุ่ยให้แขนส่วนปลายทั้งขวาและซ้ายได้ฉากกับเลาขลุ่ยพอประมาณโดยกางข้อศอกพองาม
ลักษณะการวางนิ้ว
ลักษณะการวางนิ้วของมือซ้ายและมือขวา ให้วางลักษณะขวางกับเลาขลุ่ยโดยนิ้วอยู่เหนือรูบังคับเสียงประมาณ ๑ เซนติเมตรและใช้นิ้วบริเวณผิวหนังส่วนที่นูนใต้ปลายนิ้ว เป็นส่วนที่ใช้ปิด-เปิดรูบังคับเสียง การวางนิ้วเพื่อปิดรูบังคับเสียง ต้องพยายามปิดรูให้สนิท มิฉะนั้นจะทำให้สียงขลุ่ยที่เป่าออกมา ดังผิดเพี้ยนโดยเฉพาะเสียงโด (ด)เป็นเสียงที่เป่ายากที่สุด
การที่เราจะเป่าขลุ่ยให้ไพเราะนั้น ย่อมมีเทคนิคต่างๆกันเช่น การเปาให้มีเสียงสั่น เสียงเอื้อน เสียงรัว หรือมีเสียงควง ประกอบด้วยเป็นต้น การเป่าให้ได้เสียงที่กล่าวไว้นั้น ต้องอาศัยการหมั่นฝึกฝน โดยมีวิธีการหลายอย่างดังนี้
๑.การเป่าเสียงสั่น
ต้องบังคับลมให้ออกมาเป็นช่วงๆ ให้ลมทยอยออกมาถี่ๆ หรือห่างๆตามต้องการที่จะทำให้เกิด เสียงคล้ายคลื่นตามอารมณ์ของเพลง
๒.การเป่าเสียงรัว
หรือการพรมนิ้วทำได้โดยใช้นิ้วเปิดปิดสลับกันถี่ๆ ใช้สอดแทรกเพื่อให้เพลงเกิดความไพเราะมาก ยิ่งขึ้น
๓.การเป่าเสียงเอื้อน
คือการใช้นิ้วค่อยๆเปิดบังคับลมให้เสียงขลุ่ยโรยจากหนักไปเบาหรือจากเบาไปหนักที่เสียงใดเสียงหนึ่ง
๔.เสียงโหยหวน
หวน ใช้ลมและนิ้วบังคับเพื่อให้เสียงต่อเนื่องระหว่างสองเสียง เช่นเสียงคู่สาม คู่ห้า ซึ่งเป็นเสียงที่มีความ กลมกลืนกันมากเท่ากับเสียงโดกับเสียงซอล เป็นต้น
๕.การหยุด
หรือ การชะงักลม การเป่าขลุ่ยบางจังหวะควรมีการหยุด การเบา การเน้นเสียงบ้าง เพื่อให้เพลงเกิด ความไพเราะมากขึ้น
๖.เสียงเลียน
หรือ เสียงควง คือการทำเสียงโดยใช้นิ้วต่างกันแต่ได้เสียงเดียวกัน ใช้เมื่อทำนองเพลงช่วงนั้นยาว ทำได้โดยการเป่าเสียงตรงก่อน แล้วจึงเป่าเสียงเลียนและกลับมาเป่าเสียงตรงเมื่อหมดจังหวะการเป่าโดยใช้เสียงตรงและเสียงเลียนนี้จะทำให้เพลงเกิดความไพเราะได้อีกแบบหนึ่ง นอกจาก นี้ยังมีประโยชน์อย่างมากในการเลือกขลุ่ย เพราะขลุ่ยที่ดีเสียงตรงกับเสียงเลียนต้องเท่ากัน
ประการสุดท้ายผู้ฝึกหัดควรหาโอกาสฟังการเดี่ยวขลุ่ย หรือเสียงขลุ่ยที่บรรเลงในวงดนตรีไทย จากวิทยุ เทป หรืด ซีดี ให้มากๆ แล้วใช้ความสังเกต จากการฟังจดจำเอาแบบอย่างมาฝึกฝนให้เชี่ยวชาญต่อไป
๑.ก่อนหรือหลังเป่าขลุ่ยควรทำความสะอาดโดยการขัดเช็ดทุกครั้ง แต่ห้ามนำไปล้างในอ่างน้ำ หรือตาก
๒.อย่าใช้ขลุ่ยร่วมกับผู้อื่น เพราะอาจเป็นแหล่งแพร่เชื้อได้
๓.อย่าให้ตกหล่น เพราะขลุ่ยนี้ทำด้วยไม้หรือพลาสติกอาจแตกหักได้
๔.ถ้าไม่มีความรู้จริงๆ อย่าไปตกแต่งรูขลุ่ยเพราะจะทำให้เสียงเพี้ยนได้
๕.หลังการใช้ควรเก็บใส่ถุงให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันแมลงหรือสัตว์เล็กๆเข้าไปอาศัย