นางสาวนิรมล พอกพูน รหัสนักศึกษา 64121100203 Section.12
การเลี้ยงแพะ รู้จักแพะพันธุ์แองโกลนูเบียน (Anglonubian)
การเลี้ยงแพะในประเทศไทยส่วนใหญ่ เลี้ยงปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติ ลักษณะการเลี้ยงของเกษตรกรยังขาดการใช้หลักวิชาการเพราะมักจะเข้าใจว่าแพะสามารถหากินได้เก่ง ถึงกับมีคำกล่าวที่ว่าแพะเป็นสัตว์ล้างโลก กินทุกอย่างที่ขวางหน้าหรือเปรียบแพะเป็นเทศบาลเก็บขยะข้างถนนเนื่องจากเห็นแพะเที่ยวหากินเศษพืชผัก เปลือกผลไม้ กระดาษหรือแม้ถุงพลาสติกที่ทิ้งอยู่ในตลาดสดซึ่งความจริงแล้วแพะเป็นสัตว์ที่ช่างเลือกกิน ถ้ามีพืชอาหารให้เลือก แพะจะเลือกกินส่วนใบและยอดอ่อน แต่จะไม่กินส่วนก้านหรือลำต้น ดังนั้นหากผู้เลี้ยงไม่เอาใจใส่ในการเลี้ยงให้ถูกต้อง ผลตอบแทนที่ได้จากแพะจะน้อยลงเป็นเงาตามตัว เช่น สุขภาพทั่วไปไม่สมบูรณ์ ให้ลูกตัวเดียวแทนที่จะให้ลูกแฝด ลูกแพะระยะก่อนหย่านมจะอัตราการตายสูง เป็นต้น
การเลี้ยงแกะ รู้จักแกะพันธุ์ดอร์เปอร์ (Dorper)
แกะเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีคุณค่า ขนและหนังใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม เนื้อและนมใช้บริโภคและทำเครื่องสำอาง ลำไส้เล็กใช้ทำด้ายสำหรับเย็บแผลผ่าตัด ใช้ขึงเป็นสายในเครื่องดนตรีหลายชนิด และเป็นส่วนประกอบของไส้กรอกบางชนิด และะมูลแกะยังเป็นปุ๋ยที่มีความสำคัญภายในฟาร์ม แต่อย่างไรก็ตามแนวโน้มของการทำฟาร์มแกะนั้น การเลี้ยงแกะกึ่งขน-กึ่งเนื้อเป็นที่นิยมมากกว่า เนื่องจากมีเส้นใยสังเคราะห์ที่สามารถนำมาผลิตเป็นเสื้อผ้าแทนขนแกะได้อย่างใกล้เคียง เนื้อแกะโดยเฉพาะเนื้อจากลูกแกะ (Lamb) จะเป็นที่นิยมของผู้บริโภคมากที่สุด ทั้งนี้มาจากคุณค่าทางอาหารโดยเฉพาะปริมาณฟลูออรีนซึ่งจะเป็นผลดีต่อฟัน ผู้เลี้ยงสัตว์หลาย ๆ คนให้ความเห็นว่าการเลี้ยงโคและแกะควบคู่กันไปเป็นสิ่งที่ทำได้เพราะสัตว์สองชนิดไม่มีปัญหาในการแย่งอาหารกัน แกะจะกินอาหารหยาบเป็นบางชนิดเท่านั้นซึ่งต่างจากโค สรีระของแกะมีลักษณะปากแคบและสามารถขยับริมฝีปากบนได้จึงเลือกกินแต่ส่วนที่ดีที่สุดของอาหาร
ที่มา: กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์