นาฏศิลป์พื้นเมือง(2)
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

เนื่องจากสถานการณืโควิด-19 จึงต้องมีการปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้เป็นไปตามสถานการณ์ ประโยชน์ของการเรียนออนไลน์คือ บริหารเวลาเรียนได้ตามความสะดวกสบาย ทบทวนบทเรียนได้ตลอดเวลา มีเนื้อหาใหม่ๆมาอัปเดต ประหยัดค่าใช้จ่าย ครูผู้สอนสามารถสร้างสื่อการเรียนการสอนได้ตลอดเวลา สร้างบทเรียนด้วยลิงค์ คิวอาร์โค้ด กระดานเสวนา โดยนักเรียนสามารถคลิกลิงคืเข้ากระบวนการเรียนออนไลน์ได้ทั้งในสมาทโฟนและคอมพิวเตอร์ โดยที่เนื้อหาที่นักเรียนจะเรียน คือ

1.ประวัติความเป็นมา

2.การแต่งกาย

3.วัฒนธรรม ประเพณ๊

นาฏศิลป์ไทย (2)
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

เนื่องด้วยสถานการณ์ โควิด 19 ทำให้การเรียนการสอนต้องเป็นไปด้วยการเรียนการสอนออนไลน์ ประโยชน์ของก่รเรียนออนไลน์คือ ผู้เรียนสามารถเข้าเรียนผ่านทางระบบออนไลน์เมื่ออยู่ที่บ้านได้ ครูผู้สอนสามารถสร้างสื่อการสอนผ่านระบบออนไลน์โดยให้เรียนเรียนเข้าบทเรียนด้วยลิงค์ หรือคิวอาโค๊ท ได้ โดยนักเรียนสามารถคลิ๊กเข้าระบบการเรียนการสอนออนไลน์ได้ทั้งในสมาทโฟน หรือความพิวเตอร์ โดยครูผู้สอนมีการสร้างเนื้อหาการสอนที่เป็นเนื้อหาแบบไฟล์ความรู้ที่นักเรียนสามารถคลิกเข้าไปดาวโหลดมาประกอบระหว่างการเรียนได้ นอกเหนือจากนี้ ครูผู้สอนยังมีการแนบไฟล์ที่เป็นสื่อวีดีโอประกอบการเรียนไว้อีกด้วย โดยเนื้อหาที่นักเรียนจะได้เรียน คือ

1.ประวัติของนาฏศิลป์ไทย

2. ประเภทของนาฏศิลป์ไทย

3. ดนตรีที่ใช้ในการแสดง

4. การแต่งกาย

โดยครูผู้สอนมีการสร้างแบบทดสอบให้นักเรียนได้ทำเพื่อเป็นการทบทวนความรู้และมีการให้นักเรียนมีส่วนร่วมโดยการเข้าไปตอบคอมเมนท์เพื่อนๆอีกด้วย

องค์ประกอบของนาฏศิลป์ ม.2 (22)
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

การสร้างบทเรียนในระบบออนไลน์ มีประโยชน์ต่อผู้สอนและผู้เรียนเป็นอย่างมากเนื่องด้วย ในสถานการณ์ covid 19 ส่งผลกระทบให้กับการศึกษาภายในประเทศไทยต้องเปลี่ยนรูปแบบใหม่ จากการเรียนในชั้นเรียนเข้ามาเป็นการเรียนในระบบออนไลน์มาก ขึ้น และที่ได้จัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์เพื่อเป็นการเซฟตัวนักเรียนและตัวผู้สอน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการอยู่ร่วมกันเกินจำนวนจำกัดเพื่อป้องกันโควิด 19 สะดวกสบาย ประหยัดเวลาค่าใช้จ่ายในการเดินทาง มีการอัพเดทเนื้อหาในรายวิชาที่สอนได้บ่อย และสามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

ในการสร้างรายวิชานาฏศิลป์พื้นเมือง เป็นการสร้างเพื่อที่นักเรียนจะได้สืบค้นข้อมูลและเนื้อหา เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนรู้องค์ประกอบของนาฏศิลป์ 

นาฏศิลป์พื้นเมือง (22)
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

การสร้างบทเรียนในระบบออนไลน์ มีประโยชน์ต่อผู้สอนและผู้เรียนเป็นอย่างมากเนื่องด้วย ในสถานการณ์ covid 19 ส่งผลกระทบให้กับการศึกษาภายในประเทศไทยต้องเปลี่ยนรูปแบบใหม่ จากการเรียนในชั้นเรียนเข้ามาเป็นการเรียนในระบบออนไลน์มาก ขึ้น และที่ได้จัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์เพื่อเป็นการเซฟตัวนักเรียนและตัวผู้สอน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการอยู่ร่วมกันเกินจำนวนจำกัดเพื่อป้องกันโควิด 19 สะดวกสบาย ประหยัดเวลาค่าใช้จ่ายในการเดินทาง มีการอัพเดทเนื้อหาในรายวิชาที่สอนได้บ่อย และสามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ในการสร้างรายวิชานาฏศิลป์พื้นเมือง เป็นการสร้างเพื่อที่นักเรียนจะได้สืบค้นข้อมูลและเนื้อหา เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนรู้นาฏศิลป์พื้นเมือง 4 ภาค ไม่ว่าจะเป็น ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ 

นาฏศิลป์อาเซียน(2)
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

การสร้างบทเรียนออนไลน์ในรายวิชานาฏศิลป์อาเซียนมีประโยชน์อย่างไร

มีความสะดวกสบายและมีความยืดหยุ่น มีการสร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้ให้เลือกเยอะและหลักสูตรออนไลน์มีความหลกหลายกว่า เวลาไม่ใช่ปัญหา สามารถย้อนกลับไปดู และทบทวนความรู้ซ้ำได้อีกทั้งยังช่วยประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง มีการอัปเดตหลักสูตรการสอนอยู่บ่อยๆ สามารถเลือกเรียนแบบส่วนตัวได้ การเรียนรู้วิชานาฏศิลป์อาเซียนทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การแสดงของแต่ละประเทศเพื่อนบ้านว่ามีการแสดงอย่างไรมีความเป็นมาอย่างไร

นักเรียนสามารถสแกนคิวอาร์โค้ดเข้าเรียนได้อย่างสะดวกรวดเร็ว นักเรียนสามารถเข้าดูในลิ้งที่แปะไว้ให้หรือสามารถเข้าดูในยูทูปได้เอง และมีเนื้อหารูปภาพที่น่าสนใจให้นักเรียนเข้าไปศึกษาได้ด้วยตนเองในอีเลินนิ่ง

การเรียนออนไลน์ในรายวิชานาฏศิลป์อาเซียน มีการให้เข้าไปเช็คในระบบได้เองตามเวลาที่กำหนดให้ มีการบอกวัตถุประสงค์อย่างชัดเจน มีการให้นักเรียนศึกษาและตั้งกระทู้การแสดงนาฏศิลป์อาเซียน  และมีเว็บไซด์ข้อมูลการแสดงแต่ละประเภท

ซึ่งการเรียนการสอนแบบออนไลน์ตอบโจทย์มากในสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้

นาฏศิลป์อาเซียนในแต่ละประเทศ

มีการแสดงที่คล้ายคลึงกันบ้าง แตกต่างกันบ้าง ซึ่งในแต่ละประเทศมีการแสดงแบบเฉพาะของตนเอง ซึ่งเกิดจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษและประชาชนของประเทศปัจจุบัน ซึ่งลักษณะของประเภทในนาฏศิลป์อาเซียน ก็จะมีลักษณะไปในรูปแบบ ระบำ รำ ฟ้อน เหมือนกันทั้งภูมิภาค เช่น

นาฏศิลป์ไทย แบ่งออกเป็น4 ประเภท ระบำ รำ ฟ้อน โขน-ละคร

นาฏศิลป์ลาว มี3ประเภท นาฏศิลป์คลาสสิค รำลาวฟ้อนรำพื้นเมือง

นาฏศิลป์กัมพูชา แบ่งออกเป็น3ประเภท นาฏศิลป์คลาสสิค ระบำพื้นบ้าน ระบำต่างๆ

นาฏศิลป์พม่า แบ่งออกเป็น3ยุค ยุคก่อนนับถือศาสนา ยุคนับถือศาสนา ยุคอิทธิพลละครไทย

นาฏศิลป์มาเลเซีย ละครบังสวันมาเลเซีย เมโนราหรือมโนราห์ แมกยอง

นาฏศิลป์อินโดนีเซีย มี2แบบ แบบยอกยาร์กาตาร์ แบบซูรากาตาร์

นาฏศิลป์ฟิลิปปินส์ การแสดงฟิลิปปินส์จะคล้ายประเทศละตินในอเมริกาเพราะมีการรับวัฒนธรรมมา

นาฏศิลป์สิงคโปร์ การเต้นเชิดสิงโต และบังสาวัน

นาฏศิลป์บนูไน มีการสัมพันธ์กันกับมาเลเซียจึงแสดงคล้ายกันและแต่งกายคล้ายกัน 

นาฏศิลป์เวียดนาม มีความแตกต่างกับของไทยเป็นอย่างมากแต่มีคลามคล้ายประเทศจีน

ระบำมาตรฐาน (2)
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

     รายวิชาระบำมาตรฐาน ออนไลน์ ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนออนไลน์ในช่วงสถานะการณ์โควิด-19 เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเรียนของนักเรียนหรือว่าการสอนของอาจารย์ที่ไม่อาจจะรวมกลุ่มนักเรียนได้เป็นจำนวนมาก ตามปกติในแบบดารเรียนการสอนแบบปกติได้ ดังนั้นการเรียนการสอนในโปรแกรม Mooddle ของ E-learnling.srru เป็นระบบการเรียนการสอนที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนและผู้สอนในช่วงสถานการณ์โควิด-19 และยังสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ใดก็ตามนักเรียนหรือผู้สอนสามารถเรียนและสอนได้ตลอดและทุกสถานการณ์ที่ต้องการจะเรียนรู้ในด้านการเรียน ฉะนั้นการเรียนการสอนออนไลน์จึงเหมาะสมในช่วงสถานการณ์โควิด-19 

     ผู้เรียนสามารถเข้าเรียนได้ที่ระบบ  E-learnling.srru สามารภเข้าเรียนผ่านโทรศัพท์มือถือได้

ดนตรี (เครื่องสาย) ( 2 )
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

เครื่องสี

เป็นเครื่องสายที่ทำให้เกิดเสียงด้วยการใช้คันชักสีเข้ากับสายในดนตรีไทย เรียกว่า ซอ ซึ่งมีอยู่ 3 ชนิด ด้วยกัน คือ ซอสามสาย ซออู้ และซอด้วงที่เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านได้แก่ สะล้อ  เป็นต้น
ซอด้วง

e0b88be0b8ade0b894e0b989e0b8a7e0b887.jpg (362×287)

ซอด้วง
ซอด้วง เป็นซอสองสาย  เป็นซอที่มีเสียงแหลมเล็กที่สุดในเวลาเข้าประสมวง จะทำหน้าที่เป็นผู้นำวง โดยบรรเลงทำนองหลักด้วยทำนองหวานบ้าง เก็บบ้าง หรือเร็วบ้าง ตามความเหมาะสมที่มีอยู่ในเพลง
คันทวนซอด้วงยาวประมาณ 72 ซม คันชักยาวประมาณ 68 ซม ใช้ขนหางม้าประมาณ 120 – 150 เส้น กะโหลกของ ซอด้วงนั้น แต่เดิมใช้กระบอกไม้ไผ่มาทำ ปากกระบอกของซอด้วงกว้างประมาณ 7 ซม ตัวกระบอกยาวประมาณ 13 ซม กะโหลกของซอด้วงนี้ ในปัจจุบันใช้ไม้จริง หรือ งาช้างทำก็ได้
แต่ที่นิยมว่าเสียงดีนั้น กะโหลกซอด้วงต้องทำด้วยไม้ลำเจียก ส่วนหน้าซอนิยมใช้หนังงูเหลือมขึง เพราะทำให้เกิดเสียงแก้วเกิดความไพเราะอย่างยิ่ง ลักษณะขอซอด้วง มีรูปร่างเหมือนกับซอของจีนที่เรียกว่า ฮู – ฉิน (Huchin) ทุกอย่าง เหตุที่เรียกว่า ซอด้วง ก็เพราะมีรูปร่างคล้ายเครื่องดักสัตว์ เพราะตัวด้วงดักสัตว์ ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่เหมือนกัน จึงได้เรียกชื่อไปตามลักษณะนั้นนั่นเอง
สายซอด้วงนั้น มีเพียงสองสายและมีเสียงอยู่ สองเสียง คือสายเอกจะเป็นเสียง “เร” ส่วนสายทุ้มจะเป็นเสียง “ซอล” โดยใช้สายไหมฟั่นหรือว่าสายเอ็นก็ได้
ที่เรียกว่า ด้วง มีส่วนประกอบ ดังนี้
– กระบอก เป็นส่วนที่อุ้มเสียงให้เกิดกังวาน รูปร่างเหมือนกระบอกไม้ไผ่ ทำด้วยไม้เนื้อแข็งบางทีทำด้วยงาช้าง ไม้ที่ใช้ทำต่างชนิดกันจะให้คุณภาพเสียงต่างกัน เช่น เสียงนุ่ม เสียงกลม เสียงแหลม เป็นต้น ด้านหน้าของกระบอกมีวัสดุบาง ๆ ขึงปิด นิยมใช้หนังงูเหลือม นอกนั้นอาจเป็นหนังลูกวัว หนังแพะ หรือใช้กระดาษว่าวปิดซ้อนกันหลาย ๆ ชั้นก็ได้
– คันซอ ทำด้วยไม้หรืองาช้าง ลักษณะกลมยาว สอดปักที่กระบอกตั้งตรงขึ้นไป แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงบนตั้งแต่ใต้ลูกปิดขึ้นไปจนถึงปลายคัน รูปร่างคล้ายโขนเรือ เรียกว่า “โขน” ปลายโอนโค้งงอนไปทางด้านเปิดของกระบอก ช่วงล่วงนับตั้งแต่ลูกบิดลงไปเรียกว่า “ทวนล่าง”
– ลูกบิด มีอยู่สองลูก เสียบอยู่ที่ช่วงล่างของโขน ปลายลูกบิดเจาะรูไว้สำหรับร้อยสายซอ เพื่อขึงให้ตึงตามที่ต้องการ ลูกบิดลูกบน สำหรับสายเสียงต่ำ เรียกว่า ลูกบิดสายทุ้ม ลูกบิดลูกล่าง สำหรับสายที่มีเสียงสูง เรียกว่า ลูกบิดสายเอก
– รัดอก เป็นบ่วงเชือกสำหรับรั้งสายซอ นิยมใช้ขนาดเดียวกับสายเอก ใช้ผูกรั้งสายซอทั้งสองเข้ากับทวนล่าง
– หย่อง เป็นไม้ชิ้นเล็กใช้หมุนสายซอให้พ้นขอบกระบอก และเป็นตัวรับความสั่นสะเทือนจากสายซอไปสู่หน้าซอ
– คันชัก ทำ ด้วยไม้เนื้อแข็งหรืองาช้าง รูปโค้ง ด้ามมือจับมีหมุดสำหรับให้เส้นหางม้าคล้อง อีกด้านหนึ่งเจาะรูไว้ร้อยเส้นหางม้า ซึ่งมีประมาณ 250 เส้น สอดเส้นหางม้าให้อยู่ภายในระหว่างสายเอกกับสายทุ้ม สำหรับสี
การเทียบเสียง เทียบเสียงให้ตรงกับเสียงขลุ่ยเพียงออ ทั้งสายเอกและสายทุ้ม โดยใช้สายเอกเป็นหลัก

ซอสามสาย
ซอสามสาย เป็นเครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง จำพวกเครื่องสาย มีขนาดใหญ่กว่าซอด้วงหรือซออู้ และมีลักษณะพิเศษ คือมีสามสาย มีคันชักอิสระ กะโหลกซอมีขนาดใหญ่ นับเป็นเครื่องดนตรีที่มีความสง่างามชิ้นหนึ่งในวงเครื่องสาย ผู้เล่นจะอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าของวง
ประวัติ
ปรากฏหลักฐานจากจดหมายเหตุ ลาลูแบร์ (หน้า 30) ที่บันทึกไว้ว่า “….ชาวสยามมีเครื่องดุริยางค์เล็กๆ น่าเกลียดมาก มีสามสายเรียกว่า “ซอ” ….” ซึ่งชี้ให้เห็นว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาหรือก่อนนั้น มีซอสามสายและนิยมเล่นกัน และลักษณะรูปร่างของซอสามสายก็คงจะยังไม่สวยงามมากอย่างในปัจจุบันนี้
จนมาถึงยุคต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 สืบเนื่องมาจากที่พระองค์ท่านมีอัจฉริยภาพในทางศิลปะด้านต่างๆ เช่น ทรงแกะสลักบานประตูพระวิหารวัดสุทัศน์เทพวรารามด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง อีกประการหนึ่ง พระองค์ท่านยังโปรดทรงซอสามสายเป็นอย่างยิ่ง จึงทำให้พระองค์ท่านได้ประดิษฐ์คิดสร้างซอสามสายได้ด้วยความประณีต งดงาม และเป็นแบบอย่างมาจนถึงปัจจุบันนี้
ส่วนต่าง ๆ ของซอสามสายมีชื่อเรียกดังนี้
1. ทวนบน เป็นส่วนบนสุดของคันซอ คว้านด้านในให้เป็นโพรงโดยตลอด ด้านบนสุดมีรูปร่างเป็นทรงเทริด ทวนบนนี้ เจาะรูด้านข้างสำหรับใส่ลูกบิด 3 ลูก ด้านหน้าตรงปลายทวนตอนล่าง เจาะรูสำหรับร้อยสายซอ ที่สอดออกมาจากรัดอก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อกซอ ทวนบนนี้ทำหน้าที่คล้าย ๆ กับท่ออากาศ (Air column) ให้เสียงที่เกิดจากกะโหลกเป็นความถี่ของเสียง แล้วลอดผ่านออกมาทางทวนบนนี้ได้
2. ทวนล่าง คือส่วนของซอที่ต่อลงมาจากทวนบน ทำเป็นรูปทรงกระบอก และประดิษฐ์ลวดลายสวยงาม เช่นลงยาตะทอง ลงถมปัด ประดับมุก หรืออย่างอื่น เป็นการเพิ่มความวิจิตรงดงาม และเรียกทวนล่างนี้ว่า ทวนเงิน ทวนทอง ทวนมุก ทวนลงยา เป็นต้น ทวนล่างนี้สวมยึดไว้กับทวนบน และเป็นที่สำหรับผูก รัดอก เพื่อบังคับให้สายซอทั้ง 3 เส้นติดอยู่กับทวน นอกจากนั้นทวนล่าง ยังทำหน้าที่เป็นตำแหน่งสำหรับกดนิ้ว ลงบนสายในตำแหน่งต่างๆ
3. พรมบน คือส่วนที่ต่อจากทวนล่างลงมา ส่วนบนกลึงเป็นลูกแก้ว ส่วนตอนล่างทำเป็นรูปปากช้างเพื่อประกบกับกะโหลกซอ
4. พรมล่าง คือส่วนที่ต่อจากกะโหลกซอลงมาข้างล่าง ส่วนที่ประกบกับกะโหลกซอทำเป็นรูปปากช้าง เช่นเดียวกับส่วนล่างของพรมบน ตรงกลางของพรมล่างเจาะรูด้านบนเพื่อใช้สำหรับเป็นที่ร้อยหนวดพราหมณ์ เพื่อคล้องกับสายซอทั้งสามสายและเหนี่ยวรั้งให้ตึง ตรงส่วนปลายสุดของพรมล่างกลึงเป็น เกลียวเจดีย์ และตอนปลายสุดเลี่ยมด้วย ทองคำ หรือ ทองเหลืองเป็นยอดแหลม เพื่อที่จะปักกับพื้นได้ สะดวกยิ่งขึ้น คันซอสามสายทั้ง 4 ท่อนนี้จะมีลักษณะกลวงตลอด ยกเว้นพรมล่างตอนที่เป็นเกลียวเจดีย์เท่านั้นที่เป็นส่วนที่ตัน เพราะต้องการ ความแข็งแรง ในขณะปักสีเวลาบรรเลง และคันซอทั้ง 4 ท่อนนี้ จะสวมไว้กับแกนที่สอดไว้กับ กะโหลกซอ
5. ถ่วงหน้า ถ่วงหน้าของซอสามสาย เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ ติดอยู่ตรงหน้าซอ เพื่อควบคุมความถี่ของเสียง ทำให้มีเสียงนุ่มนวลไพเราะน่าฟังยิ่งขึ้น
6. หย่อง ทำด้วยไม้ไผ่ แกะให้เป็นลักษณะคู้ ปลายทั้งสองของหย่องคว้านเป็นเบ้าขนมครกเพื่อทำให้เสียง ที่เกิดขึ้นส่งผ่านไปยังหน้าซอมีความกังวานมากยิ่งขึ้น
7. คันสี (คันชัก) คันสีของซอสามสาย ประกอบด้วยไม้และหางม้า คันสีนั้นเหลาเป็นรูปคันศร โดยมากนิยมใช้ไม้แก้ว เพราะเป็นไม้เนื้อแข็ง และมีลวดลายงดงาม
เสียงของซอสามสาย
– สายเอก ถ้าปล่อยไม่จับสายจะเป็นเสียง ซอล และใช้ปลายนิ้วแตะที่ข้างสายโดยใฃ้นิ้วชี้ จะเป็นเสียง ลา, ใช้นิ้วกลางแตะที่ข้างสายจะเป็นเสียง ที, ใช้นิ้วนางแตะที่ข้างสายจะเป็นเสียงโด, ใช้นิ้วก้อยแตะที่ข้างสายจะเป็นเสียง เร (เสียงสูง), ใช้นิ้วก้อยรูดที่สายจะเป็นเสียง มี (เสียงสูง)
– สายกลาง ถ้าปล่อยไม่จับสายจะเป็นเสียง เร และใช้นิ้วชี้กดลงบนสายจะเป็นเสียง มี, ใช้นิ้วกลางกดลงบนสายจะเป็นเสียง ฟา, ใช้นิ้วนางกดลงบนสายเป็นเสียง ซอล
– สายทุ้ม ถ้าปล่อยไม่จับสายจะเป็นเสียง ลา และใช้นิ้วชี้กดลงที่สายจะเป็นเสียง ที, ใช้นิ้วกลางกดลงที่สายจะเป็นเสียง โด, ใช้นิ้วนางกดลงที่สายจะเป็นเสียง เร


ซออู้


ซออู้
ซออู้ เป็นซอสองสาย ตัวกะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว โดยตัดปาดกะลาออกเสียด้านหนึ่ง และใช้หนังลูกวัวขึงขึ้นหน้าซอ  กว้างประมาณ 13 – 14 ซม เจาะกะโหลกให้ทะลุตรงกลาง เพื่อใส่คันทวนที่ทำด้วยไม้จริง ผ่านกะโหลกลงไป ออกทะลุรูตอนล่าง ใกล้กะโหลก คันทวนซออู้นี้ ยาวประมาณ 79 ซม ใช้สายซอสองสายผูกปลายทวนใต้กะโหลก แล้วพาดผ่านหน้าซอ ขึ้นไปผูกไว้กับ ลูกบิดสองอัน ลูกบิดซออู้นี้ยาวประมาณ 17 –18 ซม โดยเจาะรูคันทวนด้านบน แล้วสอดลูกบิดให้ทะลุผ่านคันทวนออกมา และใช้เชือกผูกรั้งกับทวนตรงกลางเป็นรัดอก เพื่อให้สายซอตึง และสำหรับเป็นที่กดสายใต้รัดอกเวลาสี ส่วนคันสีของซออู้นั้นทำด้วย ไม้จริงยาวประมาณ 70 ซม ใช้ขนหางม้าประมาณ 160 – 200 เส้น ตรงหน้าซอใช้ผ้าม้วนกลมๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นหมอนหนุน สายให้พ้นหน้าซอ ด้านหลังของกกะโหลกซอ แกะสลักเป็นรูปลวดลายสวยงาม และเป็นช่องทางให้เสียงออกด้านนี้ด้วย
ซออู้มีรูปร่างคล้ายๆกับซอของจีนที่เรียกว่า ฮู – ฮู้ ( Hu-hu ) เหตุที่เรียกว่าซออู้ก็เพราะ เรียกตามเสียงที่ได้ยินนั่นเองซอด้วงและซออู้ ได้เข้ามามีบทบาทในวงดนตรีเครื่องสายตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 4 นี่เอง โดยได้ดัดแปลงมาจาก วงกลองแขกเครื่องใหญ่ ซึ่งมีเครื่องดนตรีที่ทำลำนำประกอบด้วย ซอด้วง ซออู้ จะเข้ ปละ ปี่อ้อ ต่อมาได้เอากลองแขก ปี่อ้อ อก และเอา ทับกับรำมะนา และขลุ่ยเข้ามาแทน เรียกวงดนตรีชนิดนี้ว่า วงมโหรีเครื่องสาย มีคนเล่นทั้งหมด 6 คน รวมทั้ง ฉิ่งด้วย
ซออู้ เป็นซอที่มีเสียงทุ้มกังวาน ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายซอด้วง มีส่วนประกอบ ดังนี้
– กะโหลก ทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดส่วนที่กว้างใกล้กับขั้ว ให้พูทั้งสามอยู่ด้านบน ใช้หนังลูกวัวหรือหนังแพะ ขึงเป็นหน้าตรงที่ตัด
– คันซอ ทำด้วยไม้หรืองาช้างกลึง แบ่งเป็นสองส่วน คือ ทวนบน นับตั้งแต่ลูกบิด ไปถึงปลายคัน ทวนล่างนับตั้งแต่ลูกบิดลงมาที่ตัวคันมีลวดหรือลูกแก้วคั่นเป็นระยะ ปลายทวนล่างสอดทะลุ กะโหลกลงไป เพื่อคล้องสายซอทั้งสองเส้น
– ลูกบิด มีสองลูก เสียบอยู่ที่ทวนบน ใช้ขึงสายซอ ซึ่งทำให้ด้วยไหมฟั่นเป็นเกลียว หรือทำด้วยเอ็นผูกคล้องปลายทวนล่างสุด ลูกบนสำหรับสายทุ้ม ลูกล่างสำหรับสายเอก
– รัดอก เป็นบ่วงเชือกใช้ลูกล่างสำหรับสายเอกรั้งสายซอ เพื่อให้ได้คู่เสียงสายเปล่าชัดเจน

– หมอน เป็นวัสดุที่วางหมุนระหว่างหน้าซอกับสายซอเพื่อให้ได้เสียงกับวาน บางทีเรียกว่า หย่อง
– คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง กลึงให้ได้รูป ขึงเส้นหางม้า ประมาณ 250 เส้น เส้นหางม้านี้จะสอดเข้าระหว่าง สายเอกกับสายทุ้ม
การเทียบเสียง สายเอกมีระดับเสียงตรงกับสายทุ้มของซอด้วง สายทุ้มมีเสียงต่ำกว่าสายเอก 5 เสียง

นาฏศิลป์และการละคร2
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

นาฏศิลป์และการละครไทย เป็นรายวิชาที่สำคัญเป็นอย่างมากเพราะเป็นการศึกษาค้นคว้าทั้งประวัติของนาฏศิลป์และประวัติของละครไทยตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบันว่ามีการเปลี่ยนแปลงอะไรไปบ้างและมีวิวัฒนาการอย่างไรบ้างมีผลดีต่อประเทศและประชาชนชาวไทยอย่าไร และปัจจุบันคนไทยรุ่นหลังไม่ค่อยสนใจละครไทยนักเพราะมีนวัตกรรมใหม่ๆเข้ามาอย่างแพร่หลาย จึงอยากให้มีการเรียนการสอนในรายวิชานี้เเบบมีสื่อเเละเข้าถึงงาย ไม่ว่าจะผ่านระบบใดก็สามรถเข้าได้ เช่น คิวอาโค้ช ระหัสผ่านโปร์แกรมต่างๆ เวปต่างๆ

สาเหตุที่ต้องมีการจัดการดรียนการสอนออนไลน์ในรายวิชานาฏศิลปิและการละครเพราะ เนื่องด้วยสถานการโควิด-19 และอีกอย่างก็เป็นการหยุดเชื่อเพื่อป้องกันตัวเองนอกจากจะป้องกันตัวเองเเล้วยังจะป้องกันคนอื่นไปด้วยและเพื่อรวมด้วยช่วยกันแก้ไขปัญหาทั้งแก้ไขในรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเเล้วนั้นยังได่แก้ไขในเรื่องของสุขอนามัยไม่ไปจับกลุ่มกันไม่ไปติดเชื่อเเละไม่ไปแพร่กระจ่ายเชื่อให้ใคร

ข้อดีของการจัดการเรียนการสอนออนไลน์

     1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน เนื่องจากไม่ได้จำกัดอยู่ในสถานที่เดียวเท่านั้น

        2. เกิดเครือข่ายความรู้ โยงใยออกไปไกล

        3. เน้นการเรียนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

        4. ช่วยลดช่องว่างระหว่างการเรียนรู้ในเมืองกับท้องถิ่น

5.ลดปัญหาการติดเชื่อโควิด - 19

เป่าขลุ่ย 2
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

การเรียนขลุ่ย ในเวลาว่างช่วงโควิด ทำให้เรามีความรู้เเละมีวิชาดนตรีติดตัว นำไปใช่ประโยชน์ได้ในทางดนตรี ขึ้นเเสดงงานต่างๆได้ ขลุ่ยมีความไพเราะเเละเรียนง่ายเหมาะเเก่การใช่เป็นเครื่องดนตรี ชิ้นเเรก 

ประวัติขลุ่ยเพียงออ

        ขลุ่ยเพียงออ เป็นเครื่องดนตรีไทย ประเภทเครื่องเป่าชนิดไม่มีลิ้น ทำจากไม้รวกปล้องยาวๆ ด้านหน้าเจาะรูเรียงกัน สำหรับปิดเปิดเพื่อเปลี่ยนเสียง ตรงที่เป่าไม่มีลิ้นแต่มีดาก ซึ่งทำด้วยไม้อุดเหลาเป็นท่อนกลมๆยาวประมาณ ๒ นิ้ว สอดลงไปอุดที่ปากของขลุ่ย แล้วบากด้านหนึ่งของดากเป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ เราเรียกว่า ปากนกแก้ว เพื่อให้ลมส่วนหนึ่งผ่านเข้าออกทำให้เกิดเสียงขลุ่ยลมอีกส่วนจะวิ่งเข้าไปปลายขลุ่ยประกอบกับนิ้วที่ปิดเปิดบังคับเสียงเกิดเป็นเสียงสูงต่ำตามต้องการได้ปากนกแก้วลงมาเจาะ ๑ รู เรียกว่า รูนิ้วค้ำ เวลาเป่าต้องใช้หัวแม่มือค้ำปิดเปิดที่รูนี้ บางเลาด้านขวาเจาะเป็นรูเยื่อ ปลายเลาขลุ่ยมีรู ๔ รู เจาะตรงกันข้ามแต่เหลื่อมกันเล็กน้อย ใช้สำหรับร้อยเชือกแขวนเก็บหรือคล้องมือจึงเรียกว่า รูร้อยเชือก รวมขลุ่ยเลาหนึ่งมี ๑๔ รูด้วยกัน

        รูปร่างของขลุ่ยเมือพิจารณาแล้วจะเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง จากหลักฐานที่พบขลุ่ยในหีบศพภรรยาเจ้าเมืองไทยที่ริมฝั่งแม่น้ำฮวงเหอ ซึ่งมีหลักฐานจารึกศักราชไว้ไม่ต่ำกว่า ๒,๐๐๐ ปี ปัจจุบันขลุ่ยมีราคาสูง เนื่องจากไม้รวกชนิดที่ทำขลุ่ยมีน้อยลงและใช้เวลาทำมากจึงใช้วัตถุอื่นมาเจาะรูซึ่งรวดเร็วกว่า เช่น ไม้เนื้อแข็ง ไม้ไผ่ ไม้ชิงชัน ไม้พยุง บางครั้งอาจทำจากท่อพลาสติกแต่คุณภาพเสียงไม่ดีเท่าขลุ่ยไม้ ขลุ่ยที่มีเสียงไพเราะมากส่วนใหญ่จะเป็นขลุ่ยผิวไม้แห้งสนิท

        ขลุ่ยใช้เป่าในวงเครื่องสายไทย วงมโหรี และในวงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

การเทียบเสียงขลุ่ยเพียงออกับระดับเสียงดนตรีสากล 

       เสียงโดของขลุ่ยเพียงออ เทียบได้เท่ากับ เสียง ทีแฟล็ต ในระดับเสียงทางสากล ปัจจุบันได้มีการทำขลุ่ยเพียงออที่มีระดับเสียงเท่ากับระดับเสียงสากล เรียกว่าขลุ่ยเพียงออ ออร์แกนบ้าง หรือขลุ่ยกรวดบ้าง แต่ในทางดนตรีสากลจะเรียกเป็นขลุ่ยไทยหมด จะเอาระดับเสียงมาเป็นตัวแยกขนาดเช่น ขลุ่ยคีย์ C, ขลุ่ยคีย์ D, ขลุ่ยคีย์Bb, ขลุ่ยคีย์ G เป็นต้น

                                           

 เลาขลุ่ย   คือ ตัวขลุ่ย มีขนาดแตกต่างกันไปตามชนิดของขลุ่ย มักนิยมประดิษฐ์ลวดลายต่าง ๆ ลงบนตัวขลุ่ย
 
เช่น ลายดอกพิกุล ลายหิน และลายลูกระนาด เป็นต้น  ถ้าเป็นขลุ่ยไม้ไผ่ นิยมจะทำลวดลายลงบนเลาขลุ่ย แต่ถ้า
 
เป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ชิงชัน ไม้พยุง ไม้งิ้วดำ ฯลฯ จะไม่นิยมทำลายลงบนเลาขลุ่ย แต่อาจจะมีการลงรัก ประกอบ
 
มุก ประกอบงาแทน 

     - ดาก   คือ ไม้อุดปากขลุ่ย นิยมใช้ในไม้สักทอง เหลากลมให้คับแน่นกับร่องภายในของปากขลุ่ย ฝานให้เป็น
 
ช่องว่าง ลาดเอียงตลอดชิ้นดาก ให้เป่าลมผ่านไปได้

     - รูเป่า  เป็นรูสำหรับเป่าลมเข้าไป

     - รูปากนกแก้ว เป็นรูที่เจาะร่องรับลม จากปลายดากภายในขลุ่ย อยู่ด้านเดียวกับรูเป่า อยู่สุดปลายดากพอดี 
 
เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปากนกแก้วนี้ทำให้เกิดเสียง เทียบได้กับลิ้นของขลุ่ย

     - รูเยื่อ เป็นรูสำหรับปิดวัสดุที่ทำให้เสียงสั่นพริ้ว มักใช้เยื่อไม้ไผ่ หรือเยื่อหัวหอมปิด อยู่ด้านขวามือ ในปัจจุบัน 
 
หาขลุ่ยที่มีรูเยื่อไม่ค่อยได้แล้ว

     - รูค้ำ หรือรูนิ้วค้ำ เป็นรูสำหรับให้นิ้วหัวแม่มือปิด เพื่อบังคับเสียง และประคองเลาขลุ่ยขณะเป่า อยู่ด้านล่าง
 
เลาขลุ่ย ต่อจากรูปากนกแก้วไปทางปลายเลาขลุ่ย

     - รูบังคับเสียง เป็นรูที่เจาะเรียงอยู่ด้านบนของเลาขลุ่ย มีอยู่ ๗ รู ด้วยกัน

     - รูร้อยเชือก มี ๔ รู หรือ ๒ รูก็ได้ อยู่ทางส่วนปลายของเลาขลุ่ย โดยการเจาะทะลุบน-ล่าง และ ซ้าย-ขวา ให้
 
เยื้องกันในแต่ละคู่  ช่างบางคนได้กล่าวไว้ว่า ความจริงจุดประสงค์หลักไม่ได้ไว้ร้อยเชือก ที่จริง ทำเพื่อให้เสียงของ
 
ขลุ่ยได้ที่นั่นเอง
 

วิธีเป่าขลุ่ยเพียงออ 
          
         ให้เผยอริมฝีปากด้านบนและล่างจรดลงบนรูปากเป่า จัดเลาขลุ่ยให้ตั้งได้มุมประมาณ  ๔๕  องศา กับลำตัวโดยทอดแขนไว้ข้างลำตัวพองาม (ไม่กางศอกมากจนเกินไป) เป่าลมให้เหมาะสมไม่เบาและแรงจนเกินไป

ท่านั่งเป่าขลุ่ยเพียงออ

          การเล่นเครื่องดนตรีไทยทุกชนิด   นักดนตรีต้องสำรวมกิริยามารยาทปฏิบัติให้เรียบร้อย ให้ความเคารพต่อครูบาอาจารย์ เครื่องดนตรี ผู้ฟัง ตลอดจนนักดนตรีด้วยกันเอง การนั่งเป่าขลุ่ยต้องนั่งตัวตรงเพื่อให้ลมเดินสะดวก  ไม่นั่งก้มหน้า ถ้านั่งกับพื้นควรนั่งพับเพียบ

ท่าจับขลุ่ยเพียงออ 

              การจับขลุ่ยแบบไทยโดยประเพณีนิยมมาแต่โบราณจะจับเอามือขวาอยู่ข้างบนมือซ้าย(แต่ถ้าจับแบบสากลนิยมจับเอามือซ้ายไว้ด้านบนมือขวาไว้ด้านล่าง) ซึ่งสันนิษฐานว่าคนส่วนใหญ่ถนัดมือขวามากกว่ามือซ้าย

 

วิธีจับขลุ่ยเพียงออ
              
               มือบนจับเลาขลุ่ย ๓ รูด้วยนิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนาง อยู่ในลักษณะที่พร้อมจะปิด-เปิดรูบังคับเสียง (ซึ่งอยู่ด้านบนของเลาขลุ่ย) เรียงลงมาตามลำดับตั้งแต่รูที่อยู่บนสุดถึงรูที่สาม นิ้วหัวแม่มือปิดรูค้ำด้านหลังไว้ พร้อมทั้งใช้นิ้วก้อยประคองด้านล่างของเลาขลุ่ยไว้มือล่างจับเลาขลุ่ยส่วนล่าง ๔ รู ด้วยนิ้วชี้  นิ้วนาง นิ้วกลางและนิ้วก้อย เรียงลงมาตามลำดับนิ้วหัวแม่มือยันขลุ่ยด้านหลัง   จับเลาขลุ่ยให้แขนส่วนปลายทั้งขวาและซ้ายได้ฉากกับเลาขลุ่ยพอประมาณโดยกางข้อศอกพองาม

ลักษณะการวางนิ้ว
 

              ลักษณะการวางนิ้วของมือซ้ายและมือขวา   ให้วางลักษณะขวางกับเลาขลุ่ยโดยนิ้วอยู่เหนือรูบังคับเสียงประมาณ ๑ เซนติเมตรและใช้นิ้วบริเวณผิวหนังส่วนที่นูนใต้ปลายนิ้ว เป็นส่วนที่ใช้ปิด-เปิดรูบังคับเสียง  การวางนิ้วเพื่อปิดรูบังคับเสียง ต้องพยายามปิดรูให้สนิท มิฉะนั้นจะทำให้สียงขลุ่ยที่เป่าออกมา ดังผิดเพี้ยนโดยเฉพาะเสียงโด (ด)เป็นเสียงที่เป่ายากที่สุด

เทคนิคของขลุ่ยเพียงออ

 
        การที่เราจะเป่าขลุ่ยให้ไพเราะนั้น ย่อมมีเทคนิคต่างๆกันเช่น การเปาให้มีเสียงสั่น เสียงเอื้อน เสียงรัว หรือมีเสียงควง ประกอบด้วยเป็นต้น การเป่าให้ได้เสียงที่กล่าวไว้นั้น ต้องอาศัยการหมั่นฝึกฝน โดยมีวิธีการหลายอย่างดังนี้
        ๑.การเป่าเสียงสั่น

                 ต้องบังคับลมให้ออกมาเป็นช่วงๆ ให้ลมทยอยออกมาถี่ๆ หรือห่างๆตามต้องการที่จะทำให้เกิด เสียงคล้ายคลื่นตามอารมณ์ของเพลง


         ๒.การเป่าเสียงรัว

                หรือการพรมนิ้วทำได้โดยใช้นิ้วเปิดปิดสลับกันถี่ๆ ใช้สอดแทรกเพื่อให้เพลงเกิดความไพเราะมาก ยิ่งขึ้น


         ๓.การเป่าเสียงเอื้อน 

               คือการใช้นิ้วค่อยๆเปิดบังคับลมให้เสียงขลุ่ยโรยจากหนักไปเบาหรือจากเบาไปหนักที่เสียงใดเสียงหนึ่ง


         ๔.เสียงโหยหวน 

               หวน ใช้ลมและนิ้วบังคับเพื่อให้เสียงต่อเนื่องระหว่างสองเสียง เช่นเสียงคู่สาม คู่ห้า ซึ่งเป็นเสียงที่มีความ กลมกลืนกันมากเท่ากับเสียงโดกับเสียงซอล เป็นต้น


         ๕.การหยุด 

               หรือ การชะงักลม การเป่าขลุ่ยบางจังหวะควรมีการหยุด การเบา การเน้นเสียงบ้าง เพื่อให้เพลงเกิด ความไพเราะมากขึ้น


         ๖.เสียงเลียน 

                หรือ เสียงควง คือการทำเสียงโดยใช้นิ้วต่างกันแต่ได้เสียงเดียวกัน ใช้เมื่อทำนองเพลงช่วงนั้นยาว ทำได้โดยการเป่าเสียงตรงก่อน แล้วจึงเป่าเสียงเลียนและกลับมาเป่าเสียงตรงเมื่อหมดจังหวะการเป่าโดยใช้เสียงตรงและเสียงเลียนนี้จะทำให้เพลงเกิดความไพเราะได้อีกแบบหนึ่ง นอกจาก นี้ยังมีประโยชน์อย่างมากในการเลือกขลุ่ย เพราะขลุ่ยที่ดีเสียงตรงกับเสียงเลียนต้องเท่ากัน


         ประการสุดท้ายผู้ฝึกหัดควรหาโอกาสฟังการเดี่ยวขลุ่ย หรือเสียงขลุ่ยที่บรรเลงในวงดนตรีไทย จากวิทยุ เทป หรืด ซีดี ให้มากๆ แล้วใช้ความสังเกต จากการฟังจดจำเอาแบบอย่างมาฝึกฝนให้เชี่ยวชาญต่อไป

 

การรักษาขลุ่ย 

 

         ขลุ่ยถ้าทิ้งไว้นาน ๆ จะแห้ง ดากจะหดตัวลง ทำให้เป่าเสียงไม่ใส การที่จะให้ขลุ่ยเสียงดีพระยาภูมีเสวินได้ให้

 

คำแนะนำว่าให้นำขลุ่ยแช่น้ำผึ้งให้ท่วมปากนกแก้ว น้ำผึ้งจะช่วยให้ขลุ่ยชุ่มอยู่เสมอและขยายตัว ไม่มีช่องที่ลมจะรั่ว

 

ได้ หรืออีกวิธีหนึ่งทำโดย นำขลุ่ยไปแช่ในน้ำตาลสดหรือน้ำตาลเมาหลาย ๆ วัน จะทำให้เนื้อได้อยู่ตัว มอดไม่

 

รบกวน นอกจากนี้ควรระวังด้านอื่น ๆ คืออย่าให้ถูกความร้อนนาน ๆ ไม่ควรเอาไม้หรือวัสดุอื่นแหย่เข้าไปในปากนก

 

แก้ว เพราะอาจทำให้แง่ของดากภายในบิ่น เสียงจะเสียไปได้ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีที่ต้องใช้ปากเป่าโดยตรง ฉะนั้น

 

การรักษาความสะอาดจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยมีวิธีการบำรุงรักษาดังนี้ 


            ๑.ก่อนหรือหลังเป่าขลุ่ยควรทำความสะอาดโดยการขัดเช็ดทุกครั้ง แต่ห้ามนำไปล้างในอ่างน้ำ หรือตาก

 

แสงแดดโดยตรง เพราะจะทำให้เกิดการยืดหรืดหดตัวได้ อันเป็นสาเหตุทำให้เสียงขลุ่ยเปลี่ยนไป ควรใช้

 

แอลกอฮอล์เช็ดเพื่อฆ่าเชื้อบริเวณที่เป่าด้วย


            ๒.อย่าใช้ขลุ่ยร่วมกับผู้อื่น เพราะอาจเป็นแหล่งแพร่เชื้อได้


            ๓.อย่าให้ตกหล่น เพราะขลุ่ยนี้ทำด้วยไม้หรือพลาสติกอาจแตกหักได้


            ๔.ถ้าไม่มีความรู้จริงๆ อย่าไปตกแต่งรูขลุ่ยเพราะจะทำให้เสียงเพี้ยนได้


            ๕.หลังการใช้ควรเก็บใส่ถุงให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันแมลงหรือสัตว์เล็กๆเข้าไปอาศัย
                                           

การแสดงนาฏศิลป์ (2)
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

การจัดรูปแบบการเรียนการสอนแบบออนไลนืจะต้องมีการประยุกต์ใช้ในการศึกษาในสถานการณ์ปัจจุบัน

เพื่ออธิบายถึงสถานการณ์การแพร่ระบาทของโควิด 19 กับการเรียนการสอนออนไลน์ในรายวิชา การแสดงนาฏศิลป์ ซึ่งการแพร่กระจายของไวรัสโคโรน่า ส่งผลกระทบต่อระบบการศึกษาอย่างมาก ผู้เรียนและผู้สอนต้องปรับเข้าสู่การเรียนสอนแบบออนไลน์ เพื่อให้การเรียนการสอนดำเนินไปได้ ซึ่งการสอนในรายวิชา การแสดงนาฏศิลปืจะต้องปรับเปลี่ยนมาเป็นการเรียนแบบทฤษฏ๊ โดยการใช้โปรแกรม  e-Learning srry  https://e-learning.srru.ac.th/course/view.php?id=2724

เพื่อเป็นการทำกิจกรรมในการเรียน ซึ่งในโปรแกรมนี้ จะมีทั้ง เนื้อหาการสอน สื่อการสอน เแบบทดสอบ การทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งวิธีการเข้าเรียนนั้น จะต้องกดเข้าไปที่ลิ้งคืที่ครูส่งให้นักเรียน จากนั้นใส่รหัส 1112 เข้า 

ข้อดีข้อเสียการเรียนออนไลน์

ข้อดี

     1. นักศึกษาเข้าเรียนเกือบ 100% ทุกคาบ เพราะการเรียนในชั้นเรียนปกติมักจะพบปัญหานักศึกษาขาดเรียนหรือโดดเรียน สารพัดข้ออ้างจริงเท็จบ้างก็มี แต่พอเรียนออนไลน์ แม้ป่วยไม่หนักหนาสาหัสก็ยังสามารถเปิดอินเตอร์เน็ตโปรแกรมเข้ารียนได้

     2. เข้าเรียนตรงเวลามากขึ้น เพราะไม่ต้องเดินทาง ไม่มีความเสี่ยงเรื่องปัญหาจราจร พอถึงเวลาใครที่ยังไม่ log in เข้ามาก็โทรถามไถ่ตามตัวได้ว่านักศึกษามีปัญหาอะไร

     3. เรียนไปด้วย ช่วยงานที่บ้านไปด้วยก็ได้ หรือดูแลผู้ปกครองพ่อแม่ ที่อาจจะป่วยอยู่ที่บ้านด้วย

     4. ลดภาระค่าใช้จ่าย อันนี้แน่นอนครับไม่ต้องมาเช่าหอพัก ไม่ต้องเดินทาง และไม่ต้องมากินข้าวนอกบ้านหรืออาจโดนเพื่อนชวนไปเที่ยวกันต่อก็ได้

     5. กลับมาเรียนซ้ำ เรียนชดเชยได้ เพราะทุกโปรแกรมออนไลน์สามารถบันทึกระหว่างเรียนไว้ได้ เรียนแล้วไม่เข้าใจสามารถกดย้อนกลับมาดูได้ คนที่ขาดเรียนก็มาเรียนย้อนหลังได้

     6. อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ ขอให้มีอินเทอร์เนต ช่วงไวรัส Covid-19 แพร่ระบาดนักศึกษาบางคนไปเป็น อาสาสมัครช่วยชุมชนในจังหวัดต่างๆ ก็ทำหน้าที่เป็นนักวิจัย เก็บข้อมูลมาเสนอให้เพื่อนที่อยู่จังหวัดอื่นได้เห็นได้ฟังสดๆกันไปเลยก็มี

     7. กล้าและมั่นใจได้การแสดงความคิดเห็นมากขึ้น เพราะไม่ต้องแสดงตัวตน อากัปกิริยาหน้าชั้นเรียนหรือในห้องเรียน ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตนทั้งหมด

   

ข้อเสีย

     1. ต้องเข้มงวด เช่น ต้องเปิดกล้องสดๆ ตลอดเวลา เพราะอาจมีบ้างที่นักศึกษาปิดกล้อง โชว์รูปนิ่งแล้วหนีไปทำอย่างอื่นหรือไม่ตั้งใจเรียน

     2. การพัฒนาความสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยตรง กับอาจารย์และเพื่อนๆ นักศึกษาทำได้ยากกว่า

     3. อาจต้องจ่ายค่าซอฟต์แวร์ที่อัปเดตเพื่อเข้าถึงโปรแกรมออนไลน์หรือจ่ายเงินเพิ่มเพื่ออัปเกรดเป็นอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือต้องพัฒนาทักษะในการใช้แต่ละโปรแกรมตลอดเวลา (technology skills)

     4. ตรวจสอบความสงสัยและความเข้าใจของนักศึกษาอาจทำได้ยากกว่าเพราะในห้องเรียนสามารถกุมสภาพได้ละเอียดกว่าว่าใครทำหน้ามึนงง สงสัย หรืออยากถามแต่ไม่กล้าถาม

     5. การสร้างแรงจูงใจ (motivation) ในห้องเรียนปกติทำได้ดีกว่า กระตุ้นได้ดีกว่า เพราะเป็นการเผชิญหน้ากันทำให้เห็นสภาพความพร้อมหรือไม่พร้อมของนักศึกษาแต่ละคนได้ละเอียดกว่า

ดนตรี ( 2 )
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

รายวิชาสื่อการเรียนการสอน 

การเรียนออนไลน์ เป็นนวัฒกรรมทางการศึกษาที่เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนแบบเดิม  โดยการนำเท็คโนโลยีมาใช้ผสมผสานร่วมกันเช่น อันเตอร์เน็ตอุปกรณ์การสื่อสาร

แพลตฟอร์มการเรียนเป็นต้น เพื่อสร้างห้องเรียนเสมือนจริง โดยผู้คนทั่วโลก เสมือนจริง

เครื่องสี

เป็นเครื่องสายที่ทำให้เกิดเสียงด้วยการใช้คันชักสีเข้ากับสายในดนตรีไทย เรียกว่า ซอ ซึ่งมีอยู่ 3 ชนิด ด้วยกัน คือ ซอสามสาย ซออู้ และซอด้วงที่เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านได้แก่ สะล้อ  เป็นต้น
ซอด้วง

e0b88be0b8ade0b894e0b989e0b8a7e0b887.jpg (362×287)

ซอด้วง
ซอด้วง เป็นซอสองสาย  เป็นซอที่มีเสียงแหลมเล็กที่สุดในเวลาเข้าประสมวง จะทำหน้าที่เป็นผู้นำวง โดยบรรเลงทำนองหลักด้วยทำนองหวานบ้าง เก็บบ้าง หรือเร็วบ้าง ตามความเหมาะสมที่มีอยู่ในเพลง
คันทวนซอด้วงยาวประมาณ 72 ซม คันชักยาวประมาณ 68 ซม ใช้ขนหางม้าประมาณ 120 – 150 เส้น กะโหลกของ ซอด้วงนั้น แต่เดิมใช้กระบอกไม้ไผ่มาทำ ปากกระบอกของซอด้วงกว้างประมาณ 7 ซม ตัวกระบอกยาวประมาณ 13 ซม กะโหลกของซอด้วงนี้ ในปัจจุบันใช้ไม้จริง หรือ งาช้างทำก็ได้
แต่ที่นิยมว่าเสียงดีนั้น กะโหลกซอด้วงต้องทำด้วยไม้ลำเจียก ส่วนหน้าซอนิยมใช้หนังงูเหลือมขึง เพราะทำให้เกิดเสียงแก้วเกิดความไพเราะอย่างยิ่ง ลักษณะขอซอด้วง มีรูปร่างเหมือนกับซอของจีนที่เรียกว่า ฮู – ฉิน (Huchin) ทุกอย่าง เหตุที่เรียกว่า ซอด้วง ก็เพราะมีรูปร่างคล้ายเครื่องดักสัตว์ เพราะตัวด้วงดักสัตว์ ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่เหมือนกัน จึงได้เรียกชื่อไปตามลักษณะนั้นนั่นเอง
สายซอด้วงนั้น มีเพียงสองสายและมีเสียงอยู่ สองเสียง คือสายเอกจะเป็นเสียง “เร” ส่วนสายทุ้มจะเป็นเสียง “ซอล” โดยใช้สายไหมฟั่นหรือว่าสายเอ็นก็ได้
ที่เรียกว่า ด้วง มีส่วนประกอบ ดังนี้
– กระบอก เป็นส่วนที่อุ้มเสียงให้เกิดกังวาน รูปร่างเหมือนกระบอกไม้ไผ่ ทำด้วยไม้เนื้อแข็งบางทีทำด้วยงาช้าง ไม้ที่ใช้ทำต่างชนิดกันจะให้คุณภาพเสียงต่างกัน เช่น เสียงนุ่ม เสียงกลม เสียงแหลม เป็นต้น ด้านหน้าของกระบอกมีวัสดุบาง ๆ ขึงปิด นิยมใช้หนังงูเหลือม นอกนั้นอาจเป็นหนังลูกวัว หนังแพะ หรือใช้กระดาษว่าวปิดซ้อนกันหลาย ๆ ชั้นก็ได้
– คันซอ ทำด้วยไม้หรืองาช้าง ลักษณะกลมยาว สอดปักที่กระบอกตั้งตรงขึ้นไป แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงบนตั้งแต่ใต้ลูกปิดขึ้นไปจนถึงปลายคัน รูปร่างคล้ายโขนเรือ เรียกว่า “โขน” ปลายโอนโค้งงอนไปทางด้านเปิดของกระบอก ช่วงล่วงนับตั้งแต่ลูกบิดลงไปเรียกว่า “ทวนล่าง”
– ลูกบิด มีอยู่สองลูก เสียบอยู่ที่ช่วงล่างของโขน ปลายลูกบิดเจาะรูไว้สำหรับร้อยสายซอ เพื่อขึงให้ตึงตามที่ต้องการ ลูกบิดลูกบน สำหรับสายเสียงต่ำ เรียกว่า ลูกบิดสายทุ้ม ลูกบิดลูกล่าง สำหรับสายที่มีเสียงสูง เรียกว่า ลูกบิดสายเอก
– รัดอก เป็นบ่วงเชือกสำหรับรั้งสายซอ นิยมใช้ขนาดเดียวกับสายเอก ใช้ผูกรั้งสายซอทั้งสองเข้ากับทวนล่าง
– หย่อง เป็นไม้ชิ้นเล็กใช้หมุนสายซอให้พ้นขอบกระบอก และเป็นตัวรับความสั่นสะเทือนจากสายซอไปสู่หน้าซอ
– คันชัก ทำ ด้วยไม้เนื้อแข็งหรืองาช้าง รูปโค้ง ด้ามมือจับมีหมุดสำหรับให้เส้นหางม้าคล้อง อีกด้านหนึ่งเจาะรูไว้ร้อยเส้นหางม้า ซึ่งมีประมาณ 250 เส้น สอดเส้นหางม้าให้อยู่ภายในระหว่างสายเอกกับสายทุ้ม สำหรับสี
การเทียบเสียง เทียบเสียงให้ตรงกับเสียงขลุ่ยเพียงออ ทั้งสายเอกและสายทุ้ม โดยใช้สายเอกเป็นหลัก

ซอสามสาย
ซอสามสาย เป็นเครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง จำพวกเครื่องสาย มีขนาดใหญ่กว่าซอด้วงหรือซออู้ และมีลักษณะพิเศษ คือมีสามสาย มีคันชักอิสระ กะโหลกซอมีขนาดใหญ่ นับเป็นเครื่องดนตรีที่มีความสง่างามชิ้นหนึ่งในวงเครื่องสาย ผู้เล่นจะอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าของวง
ประวัติ
ปรากฏหลักฐานจากจดหมายเหตุ ลาลูแบร์ (หน้า 30) ที่บันทึกไว้ว่า “….ชาวสยามมีเครื่องดุริยางค์เล็กๆ น่าเกลียดมาก มีสามสายเรียกว่า “ซอ” ….” ซึ่งชี้ให้เห็นว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาหรือก่อนนั้น มีซอสามสายและนิยมเล่นกัน และลักษณะรูปร่างของซอสามสายก็คงจะยังไม่สวยงามมากอย่างในปัจจุบันนี้
จนมาถึงยุคต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 สืบเนื่องมาจากที่พระองค์ท่านมีอัจฉริยภาพในทางศิลปะด้านต่างๆ เช่น ทรงแกะสลักบานประตูพระวิหารวัดสุทัศน์เทพวรารามด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง อีกประการหนึ่ง พระองค์ท่านยังโปรดทรงซอสามสายเป็นอย่างยิ่ง จึงทำให้พระองค์ท่านได้ประดิษฐ์คิดสร้างซอสามสายได้ด้วยความประณีต งดงาม และเป็นแบบอย่างมาจนถึงปัจจุบันนี้
ส่วนต่าง ๆ ของซอสามสายมีชื่อเรียกดังนี้
1. ทวนบน เป็นส่วนบนสุดของคันซอ คว้านด้านในให้เป็นโพรงโดยตลอด ด้านบนสุดมีรูปร่างเป็นทรงเทริด ทวนบนนี้ เจาะรูด้านข้างสำหรับใส่ลูกบิด 3 ลูก ด้านหน้าตรงปลายทวนตอนล่าง เจาะรูสำหรับร้อยสายซอ ที่สอดออกมาจากรัดอก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อกซอ ทวนบนนี้ทำหน้าที่คล้าย ๆ กับท่ออากาศ (Air column) ให้เสียงที่เกิดจากกะโหลกเป็นความถี่ของเสียง แล้วลอดผ่านออกมาทางทวนบนนี้ได้
2. ทวนล่าง คือส่วนของซอที่ต่อลงมาจากทวนบน ทำเป็นรูปทรงกระบอก และประดิษฐ์ลวดลายสวยงาม เช่นลงยาตะทอง ลงถมปัด ประดับมุก หรืออย่างอื่น เป็นการเพิ่มความวิจิตรงดงาม และเรียกทวนล่างนี้ว่า ทวนเงิน ทวนทอง ทวนมุก ทวนลงยา เป็นต้น ทวนล่างนี้สวมยึดไว้กับทวนบน และเป็นที่สำหรับผูก รัดอก เพื่อบังคับให้สายซอทั้ง 3 เส้นติดอยู่กับทวน นอกจากนั้นทวนล่าง ยังทำหน้าที่เป็นตำแหน่งสำหรับกดนิ้ว ลงบนสายในตำแหน่งต่างๆ
3. พรมบน คือส่วนที่ต่อจากทวนล่างลงมา ส่วนบนกลึงเป็นลูกแก้ว ส่วนตอนล่างทำเป็นรูปปากช้างเพื่อประกบกับกะโหลกซอ
4. พรมล่าง คือส่วนที่ต่อจากกะโหลกซอลงมาข้างล่าง ส่วนที่ประกบกับกะโหลกซอทำเป็นรูปปากช้าง เช่นเดียวกับส่วนล่างของพรมบน ตรงกลางของพรมล่างเจาะรูด้านบนเพื่อใช้สำหรับเป็นที่ร้อยหนวดพราหมณ์ เพื่อคล้องกับสายซอทั้งสามสายและเหนี่ยวรั้งให้ตึง ตรงส่วนปลายสุดของพรมล่างกลึงเป็น เกลียวเจดีย์ และตอนปลายสุดเลี่ยมด้วย ทองคำ หรือ ทองเหลืองเป็นยอดแหลม เพื่อที่จะปักกับพื้นได้ สะดวกยิ่งขึ้น คันซอสามสายทั้ง 4 ท่อนนี้จะมีลักษณะกลวงตลอด ยกเว้นพรมล่างตอนที่เป็นเกลียวเจดีย์เท่านั้นที่เป็นส่วนที่ตัน เพราะต้องการ ความแข็งแรง ในขณะปักสีเวลาบรรเลง และคันซอทั้ง 4 ท่อนนี้ จะสวมไว้กับแกนที่สอดไว้กับ กะโหลกซอ
5. ถ่วงหน้า ถ่วงหน้าของซอสามสาย เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ ติดอยู่ตรงหน้าซอ เพื่อควบคุมความถี่ของเสียง ทำให้มีเสียงนุ่มนวลไพเราะน่าฟังยิ่งขึ้น
6. หย่อง ทำด้วยไม้ไผ่ แกะให้เป็นลักษณะคู้ ปลายทั้งสองของหย่องคว้านเป็นเบ้าขนมครกเพื่อทำให้เสียง ที่เกิดขึ้นส่งผ่านไปยังหน้าซอมีความกังวานมากยิ่งขึ้น
7. คันสี (คันชัก) คันสีของซอสามสาย ประกอบด้วยไม้และหางม้า คันสีนั้นเหลาเป็นรูปคันศร โดยมากนิยมใช้ไม้แก้ว เพราะเป็นไม้เนื้อแข็ง และมีลวดลายงดงาม
เสียงของซอสามสาย
– สายเอก ถ้าปล่อยไม่จับสายจะเป็นเสียง ซอล และใช้ปลายนิ้วแตะที่ข้างสายโดยใฃ้นิ้วชี้ จะเป็นเสียง ลา, ใช้นิ้วกลางแตะที่ข้างสายจะเป็นเสียง ที, ใช้นิ้วนางแตะที่ข้างสายจะเป็นเสียงโด, ใช้นิ้วก้อยแตะที่ข้างสายจะเป็นเสียง เร (เสียงสูง), ใช้นิ้วก้อยรูดที่สายจะเป็นเสียง มี (เสียงสูง)
– สายกลาง ถ้าปล่อยไม่จับสายจะเป็นเสียง เร และใช้นิ้วชี้กดลงบนสายจะเป็นเสียง มี, ใช้นิ้วกลางกดลงบนสายจะเป็นเสียง ฟา, ใช้นิ้วนางกดลงบนสายเป็นเสียง ซอล
– สายทุ้ม ถ้าปล่อยไม่จับสายจะเป็นเสียง ลา และใช้นิ้วชี้กดลงที่สายจะเป็นเสียง ที, ใช้นิ้วกลางกดลงที่สายจะเป็นเสียง โด, ใช้นิ้วนางกดลงที่สายจะเป็นเสียง เร


ซออู้


ซออู้
ซออู้ เป็นซอสองสาย ตัวกะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว โดยตัดปาดกะลาออกเสียด้านหนึ่ง และใช้หนังลูกวัวขึงขึ้นหน้าซอ  กว้างประมาณ 13 – 14 ซม เจาะกะโหลกให้ทะลุตรงกลาง เพื่อใส่คันทวนที่ทำด้วยไม้จริง ผ่านกะโหลกลงไป ออกทะลุรูตอนล่าง ใกล้กะโหลก คันทวนซออู้นี้ ยาวประมาณ 79 ซม ใช้สายซอสองสายผูกปลายทวนใต้กะโหลก แล้วพาดผ่านหน้าซอ ขึ้นไปผูกไว้กับ ลูกบิดสองอัน ลูกบิดซออู้นี้ยาวประมาณ 17 –18 ซม โดยเจาะรูคันทวนด้านบน แล้วสอดลูกบิดให้ทะลุผ่านคันทวนออกมา และใช้เชือกผูกรั้งกับทวนตรงกลางเป็นรัดอก เพื่อให้สายซอตึง และสำหรับเป็นที่กดสายใต้รัดอกเวลาสี ส่วนคันสีของซออู้นั้นทำด้วย ไม้จริงยาวประมาณ 70 ซม ใช้ขนหางม้าประมาณ 160 – 200 เส้น ตรงหน้าซอใช้ผ้าม้วนกลมๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นหมอนหนุน สายให้พ้นหน้าซอ ด้านหลังของกกะโหลกซอ แกะสลักเป็นรูปลวดลายสวยงาม และเป็นช่องทางให้เสียงออกด้านนี้ด้วย
ซออู้มีรูปร่างคล้ายๆกับซอของจีนที่เรียกว่า ฮู – ฮู้ ( Hu-hu ) เหตุที่เรียกว่าซออู้ก็เพราะ เรียกตามเสียงที่ได้ยินนั่นเองซอด้วงและซออู้ ได้เข้ามามีบทบาทในวงดนตรีเครื่องสายตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 4 นี่เอง โดยได้ดัดแปลงมาจาก วงกลองแขกเครื่องใหญ่ ซึ่งมีเครื่องดนตรีที่ทำลำนำประกอบด้วย ซอด้วง ซออู้ จะเข้ ปละ ปี่อ้อ ต่อมาได้เอากลองแขก ปี่อ้อ อก และเอา ทับกับรำมะนา และขลุ่ยเข้ามาแทน เรียกวงดนตรีชนิดนี้ว่า วงมโหรีเครื่องสาย มีคนเล่นทั้งหมด 6 คน รวมทั้ง ฉิ่งด้วย
ซออู้ เป็นซอที่มีเสียงทุ้มกังวาน ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายซอด้วง มีส่วนประกอบ ดังนี้
– กะโหลก ทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดส่วนที่กว้างใกล้กับขั้ว ให้พูทั้งสามอยู่ด้านบน ใช้หนังลูกวัวหรือหนังแพะ ขึงเป็นหน้าตรงที่ตัด
– คันซอ ทำด้วยไม้หรืองาช้างกลึง แบ่งเป็นสองส่วน คือ ทวนบน นับตั้งแต่ลูกบิด ไปถึงปลายคัน ทวนล่างนับตั้งแต่ลูกบิดลงมาที่ตัวคันมีลวดหรือลูกแก้วคั่นเป็นระยะ ปลายทวนล่างสอดทะลุ กะโหลกลงไป เพื่อคล้องสายซอทั้งสองเส้น
– ลูกบิด มีสองลูก เสียบอยู่ที่ทวนบน ใช้ขึงสายซอ ซึ่งทำให้ด้วยไหมฟั่นเป็นเกลียว หรือทำด้วยเอ็นผูกคล้องปลายทวนล่างสุด ลูกบนสำหรับสายทุ้ม ลูกล่างสำหรับสายเอก
– รัดอก เป็นบ่วงเชือกใช้ลูกล่างสำหรับสายเอกรั้งสายซอ เพื่อให้ได้คู่เสียงสายเปล่าชัดเจน

– หมอน เป็นวัสดุที่วางหมุนระหว่างหน้าซอกับสายซอเพื่อให้ได้เสียงกับวาน บางทีเรียกว่า หย่อง
– คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง กลึงให้ได้รูป ขึงเส้นหางม้า ประมาณ 250 เส้น เส้นหางม้านี้จะสอดเข้าระหว่าง สายเอกกับสายทุ้ม
การเทียบเสียง สายเอกมีระดับเสียงตรงกับสายทุ้มของซอด้วง สายทุ้มมีเสียงต่ำกว่าสายเอก 5 เสียง

องค์ประกอบของนาฏศิลป์ ม.2 (2)
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

การสร้างบทเรียนในระบบออนไลน์ มีประโยชฯ์ต่อผู้สอนเเละผู้เรียนเป้นอย่างมากเนื่องด้วยในสถานการณ์ Covid 19 ส่งผลกระทบให้กับการศึกษาในประเภทไทยเป้นอย่างมาก และเราต้องเปลี่ยนรูปแแบบใหม่ หรือนวัตกรรมใหม่ จากการเรียนในชั้นเรียน เปลี่ยนเป็น การเรียนในรูปแบบ หรือระบบออนไลน์ เเละเป้นการจัดการเรียนการสอนใระบบออนไลน์เพื่อเป็นการระมัดระวังของตัวผู้สอน เเละผู้เรียน เพื่ิอจะได้ไม่เกิดปัญหาการอยู่ร่วมกันจำนวนมากเกินไปเพื่อป้องกันโควิด19 เเละช่วยให้การจัดการการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เเละประหยัดเวลา เเละค่าใช้จ่าย การที่ผู้เรียนสามารถเรียนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จากที่ไหนก้ได้ เเละช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ รวมทั้งเนื้อหามีความทันสมัย ทำให้เกิดการเรียนการสอนเเก่ผู้เรียนในวงกว้างขึ้น เเละช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผุู้เรียนกับผู้สอน

ในการสร้างการเรียนการสอนในรายวิชาองค์ประกอบของนาฏศิลป์ในรูปแบบออนไลน์ เป็นรายวิชาที่สร้างความรู้ใหม่ๆใหกับนักเรียนเพราะมีเนื้อหาความสำคัญของเนื้อหาเกี่ยวกับองค์ประกอบของนาฏศิลป์ ได้เเก่ ท่ารำ เนื้อร้อง ทำนอง/จังหวะ การเเต่งหน้า การเเต่งกาย อุปกรณ์การเเสดง เป็นต้น

รำไทย(นาฏศิลป์2)
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

รายวิชา รำไทย

สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนออนไลน์ในช่วงสถานะการณ์โควิด19 เพื่อใช้เป็นสื่อการสอนได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเรียนของนักเรียนหรือว่าการสอนของอาจารย์ที่เป็นการเรียนการสอนที่ไม่ต้องเข้าใกล้นักเรียน ตามปกติในการเรียนการสอน ดังนั้นการเรียนการสอนของโปรแกรม e-learnning.srru เป็นรระบบการสอนที่มีประโยชน์ต่อผุ้เรียนอย่างมากในสถานะการณ์โควิด19

ในการเรียนครุจะส่งคิวอาโค้ชให้ผุ้เรียน โดยผุ้เรียนสามารถสแกนคิวอาโค้ชและเข้าเรียนได้ง่ายโดยสามารถเข้าผ่านโทรศัพท์มือถือ

นาฏศิลป์ไทย(2)
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

การเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีทำให้วงการการศึกษาทั่วโลกได้รู้จักกับการเรียนการสอนในรูปแบบ ‘ออนไลน์’ มาแล้วได้พักใหญ่ แต่ก็ย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่าการเรียนผ่านจอไม่อาจได้ผลลัพธ์ดีเท่ากับการเรียนในห้องเรียน ที่ครูกับนักเรียน รวมถึงนักเรียนด้วยกันเองได้มีปฏิสัมพันธ์กันแบบเห็นหน้ากันจริงๆ การเรียนออนไลน์ที่ผ่านมาจึงเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งที่ถูกใช้บางโอกาสเท่านั้น รายวิชา นาฏศิลป์ไทย ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช่ในการเรียนการสอน ในยุคโควิค 19 ในปัจจุบันทำให้นักเรียนไม่สามารถเข้ามาเรียนตามปกติไม่ได้ จึงจำเป็นต้องจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ มีประโยชน์อย่างมาก

ในส่วนของรายวิชา นาฏศิลป์ไทย ที่จัดสร้างขึ้นมา เพื่อสะดวกทั้งครูและนักเรียน ประหยัดเวลา และยังป้องกันโรคระบาดด้วย ครูสามารถสร้างบทเรียนการสอนได้ตลอกเวลา การสร้างโต้ตอบกระดาษเสวนา ครูและนักเรียนได้ ได้ทำการพูดคุยที่ไม่ต้องมาเจอกันโดยตรง 

ในการจัดทำ รายวิชา นาฏศิลป์ไทย  มีการสร้างขึ้นมาในรูปแบบระบบออนไลน์ ที่สะดวกสะบายต่่อผู้สอนและผู้เรียน โดยนมีขั้นตอนต่างๆ ให้นักเรียนเข้าไปเรียนเข้าไปศึกษางานด้วยตอนเองได้โดยจะทำงาน สร้างบทเรียนไว้ในออนไลน์ ให้นักเรียนเข้าไปทำโดยไม่ต้องเข้ามาเรียนที่โรงเรียนสามารถนั้งเรียนได้ที่บ้านหรือที่ไหนก็ตาม จะได้ไม่ติดโรคอีกด้วย

บทเรียนเราก็จะมีตั้งแต่การแนะนำตัวจนการเช็คชื่อผ่านระบบออนไลน์ มีชิ้นงานให้ทำส่ง มีข้อมูลให้ได้เรียนรู้ การเข้าไปตอบคำเม้นเพื่อนเพื่อจะได้ทำความรู้จักอีกทางด้วย 

256401ประวัติการละครไทย ม.1(2)
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

การสร้างบทเรียนออนไลน์มีประโยชน์มากๆในปัจจุบัน เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กิจกรรม เนื้อหาต่างๆในบทเรียน สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้ตลอดเวลา โดยการสร้างบทเรียนจะต้องมีการวางโครงสร้างบทเรียนเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และให้บทเรียนมีความสมบูรณ์ ผู้เรียนสามารถเข้ามาเรียนและเข้าใจง่าย เพราะในสถานการณ์การการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 จึงทำให้ไม่สามารถให้ผู้เรียนมาเรียนที่สถานศึกษาได้ ดังนั้นการสร้างบทเรียนออนไลน์จึงมีความจำเป็นอย่างมาก และสามารถทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และรู้จักใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

- ขั้นตอนการเข้าบทเรียนโดยผู้สอนจะส่งลิงค์บทเรียนแล้วให้ผู้เรียนคลิกเข้าไป 

- รหัสผ่าน 02

- ให้ผู้เรียนเรียนรู้กิจกรรมที่อาจารย์ได้กำหนดไว้และทำแบบทดสอบ

นาฏศิลป์พื้นเมือง(2)
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การเรียนการสอนปรับรูปแบบไปตามสถานการณ์

ประโยชน์ของการเรียนการสอนแบบออนไลน์

1.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน

หมอลำเพลิน (นาฏศิลป์)2
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

รายวิชาหมอลำเพลิน

สร้างขึ้นเพื่อให้นักเรียนเข้าเรียนง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น เพราะในช่วงยุคโควิด 19 นักเรียนไม่สามารถไปเรียนที่โรงเรียนได้ กระผมนายทนงศักดิ์ กาละพัฒน์ นักศึกษาสาขานาฏศิลป์ ได้เล็งเห็นปํญหาในการเรียนการสอนที่เป็นไปได้ยาก กระผมจึงได้จัดห้องเรียนออนไลน์ขึ้นเพื่อให้ประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในยุคโควิดให้สะดวกมากยิ่งขึ้น โดยใช้โปรแกรมการเรียนการสอนอีเลอนิ่งมาใช้ในการสอน เพื่อลดการแพร่กระจายของไวรัสโควิด 19 นักเรียนสามารถเรียนที่บ้านได้อย่างสะดวก

ในการเข้าเรียนครูจะมีคิวอาร์โค้ดหรือลิ้งเข้าบทเรียนให้ให้นักเรียนคลิกเข้าไปเรียนได้เลยไม่ต้องเข้าระบบยุ่งยาก และสารถเข้าเช็คชื่อได้และเข้าพบปะกับนักเรียนแบบเป็นวีดีโอได้โดยไม่ต้องโหลดโปรแกรมใหม่ให้หนักเครื่องบางคนอาจมีปํญหาในเรื่องความจำโทรศัพท์เต็ม เพราะกระผมเคยเจอมากับตัวในรายวิชาอื่นจึงได้เลือกระบบอีเลอนิ่งมาให้นักเรียนใช้ เพราะเป็นโปรแกรมที่ใช้ง่ายและสะดวก

ประโยชน์

นักเรียนสามารถเรียนที่ไหนเวลาไดก็ได้

นักเรียนสามารถดูวีดีโอที่ครูแป๊ะไว้ให้โดยลิงค์ไม่หาย

ไฟล์เอกสารที่ส่งให้นักเรียนไม่หายไม่หมดเวลาเหมือนส่งในไลน์

เป็รโปรแกรมที่มีระบบค่อนค่างครบถ้วนสมบูรณ์

ดนตรีไทย ป.5 (2)
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

1.บริหารเวลาเรียนได้ตามความสะดวก

2.วิกฤตไหนก็ไม่เป็นอุปสรรค 

3.ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องเดินทางไปสถานศึกษา

นาฏศิลป์ไทย01(2)
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

รายวิชานาฏศิลป์ไทย01 (2) ออนไลน์ ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนออนไลน์ในช่วงสถานะการณ์โควิด-19 เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็นด้านการเรียนของนักเรียนหรือว่าการสอนของอาจารย์หรือคุณครูที่เป็นการเรียนการสอนที่ไม่อาจเข้าใกล้นักเรียนได้ตามปกติ ฉะนั้นการเรียนการสอนของโปรแกรม Mooddle ของ E-learning.srru เป็นระบบการเรียนการสอนที่เป็นประโยชน์ ต่อผู้เรียนและผู้สอนในช่วงสถานะการณ์โควิด -19 และยังสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ใดก็ตามนักเรียนหรือผู้สอนสามารถสอนและเรียนได้ตลอดเวลาและทุกสถานที่ที่ต้องการจะเรียนรู้ในด้านการเรียน ฉะนั้นการเรียนการสอนออนไลน์จึงเหมาะสมในช่วงสถานะการโควิด-19

โดยครูผู้สอนจะส่งคิวอาร์โค้ดให้ผูเรียน แล้วผู้เรียนสามารถแสกนคิวอาร์โค้ดเข้าเรียน สามารถเข้าเรียนโดยใช้โทรศัพท์มือถือโดยใช้อินเตอร์เน็ต

รำวงมาตรฐาน (2)
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

เนื่องด้วยประเทศไทยเกิดวิกฤตปัญหาสถานะการโควิด-19 ซึ่งในสถานะการนี้เราไม่สามารถมาพบเจอกันได้ ครูจึงสร้างบทเรียนออนไลน์นี้ขึ้นมา เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารและเป็นสื่อการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเรียนของนักเรียนหรือว่าการติดต่อสื่อสารระหว่างครูและนักเรียนในรูปแบบใหม่ จากภาคปกติในแบบการเรียนการสอนแบบปกติใด้ ฉะนั้นปัญหาสถานะการโควิด-19 จะไปม่เป็นปัญหาในการเรียนของเราและยังสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ไดโดยเรียนผ่านโปรแกรม E-leamin เพื่อเป็นเรียนการสอนที่เป็นประโยชนีต่อผู้เรียนและผู้สอน สามารถสอนและเรียนได้ดอดเวลาและทุกสถานที่ที่ต้องการจะเรียนรู้ในด้านการเรียน จะนั้นการเรียนการสอนและผู้สอนในช่วงออนไลน่จึงเหมาะสมที่สุดในสถานะการณ์โควิด-19 นี้ และครูจะส่งคิวอาร์โค้ดให้ผู้เรียน โดยผู้เรียนสามารถเข้าเรียนได้โดยการสแกนตัวอาร์โค้ดให้ผู้เรียนสามารถอ่าน เขียน และส่งงานเขียนได้ง่ายขึ้นโดย สามารถเรียนผ่านโทรศัพมือถือได้เลย

 

 การเรียนนาฏศิลป์มีความมุ่งหมายดังนี้

1.      เพื่อเป็นการปลูกฝังและส่งเสริมนิสัยทางศิลปะแก่ผู้เรียน

2.      เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจยิ่งขึ้น

3.      เพื่อเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่สืบไป

4.      เพื่อเป็นการฝึกให้รู้จักกล้าแสดงออก

 

 การเรียนนาฏศิลป์ทำให้เกิดประโยชน์ดังนี้

1.      ทำให้เป็นคนรื่นเริงแจ่มใส

2.      มีความสามัคคีในหมู่คณะ

3.      สามารถยึดเป็นอาชีพได้

4.      ทำให้รู้จักดนตรีและเพลงต่าง ๆ

5.      ทำให้เกิดความจำและปฏิภาณดี

6.      ช่วยให้เป็นคนที่มีบุคลิกท่าทางเคลื่อนไหวสง่างาม

7.      ช่วยในการออกกำลังกายได้เป็นอย่างดี

8.      ได้รับความรู้นาฏศิลป์จนเกิดความชำนาญ  สามารถปฏิบัติได้ดีมีชื่อเสียง

 

 คุณสมบัติของผู้เริ่มเรียนนาฏศิลป์

1.      ต้องมีความสนใจและตั้งใจจริง

2.      ต้องทำใจให้รักและนิยมในศิลปะแขนงนี้

3.      ต้องมีสมาธิแน่วแน่ในขณะปฏิบัติ

4.      ต้องเป็นผู้ที่ช่างสังเกต

5.      ต้องพยายามเลียนแบบครูให้มากที่สุด

6.      ต้องเป็นผู้ที่ไม่ท้อถอยต่อความยากของบทเรียน  หรือความเมื่อยล้า

      ที่เกิดขึ้น

7.      ต้องเป็นผู้ที่ขยันในการทบทวนฝึกซ้อมท่ารำอยู่สม่ำเสมอ

นาฏศิลป์ไทย (2)
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

เนื่องจากสถานการณ์ โควิด 19 ทำให้การเรียนการสอนต้องปรับไปด้วย เช่นการเรียนการสอนออนไลน์ ทำให้การเรียนการสอนสารมารถดำเนินไปได้ 

ประโยชนืของการเรียนออนไลน์ นักเรียนสามารถเรียนได้ในสถานที่ต่างๆ ที่นักเรียนสะดวก และไม่ได้มีการสัมผัสตัวกัน ตามมาตรการป้องกันของกระทรวงสาธารณะสุข

ครูผู้สอนสามารถสอนที่บ้านได้ ซึ่งบทเรียนออนไลน์นี้มีทั้งที่เป็นแบบเอกสารออนไลน์ที่นักเรียนสามารถเข้าไปเปิดดูตามระหว่างเรียนได้

พิณ (2)
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

จากสถานการณ์โควิด ทำให้การเรียนพิณ ในทางปฏิบัติทำได้ยาก จึงจัดการสอนโดยการให้นักเรียนได้รู้จักเกี่ยวกับประวัติเบื้องต้นเกี่ยวกับพิณว่ามีความเป็นมาอย่างไร และมีวิธีการเล่นอย่างไร เพราะจะทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจและสามารถเรียนพิณด้วยตนเองได้อย่้างเข้าใจมากขึ้น เนื่องจากได้มีความเข้าใจถึงตัวและประวัติของพิณ ถือเป็นการอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านอีกด้วยเนื่องจากพิณเป็นเครื่องดนตรีที่มีผู้เล่นไม่มากนัก จึงต้องการคนที่จะเรียนรู้อยู่ตลอด

ลายพิณแต่ละลายจะสื่อถึงวัฒนธรรมต่างๆผ่านบนพลงหลายๆบทเพลง เนื่องจากเพลแต่ละบทเพลงจะสามารถสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตและเรื่องราวต่างๆได้

การเรียนผ่านระบบออนไลน์มีทั้งข้อดีและข้อเสีย

ข้อดี คือ ทำให้ผู้เรียนรู้จักสืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง ผู้เรียนสามารถหาข้อมูลได้กว้างขึ้นมากกว่าเดิม มากกว่าในห้องเรียน

ผู้เรียนสามารถมีควยามรู้ใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดเวลา

ข้อเสีย คือ 

ผู้เรียนขาดความกระตือรือร้นในการเรียนเนื่องจากำขาดแรงกระตุ้น และทำให้ผู้เรียนเกิดแรงกดดันในการเรียนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเกิดการขาดการพูดคุยสอบถาม เหมือนในห้องเรียน

ประวัติความเป็นมาของพิณ

    พิณเป็นเครื่องดนตรีในสกุลเครื่องสายซึ่งประกอบด้วย กะโหลกและคอ มีสายขึงใช้ดีด อาจดีดด้วยมือแผ่นพลาสติกหรือแม้แต่เศษวัสดุที่เป็นแผ่นถากออกมาจากเขาสัตว์หรือกระดองเต่า (Midgley.1978:167-179)  มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตตะ หมายถึง เครื่องดนตรีที่มีสายสำหรับดีดเป็นเสียงสันนิษฐานว่า ตตะนี้คงจะได้แบบอย่างมาจากที่ใช้สายขึ้นคันธนู เกิดการสั่นสะเทือน แต่สายธนูที่ทำหน้าที่เป็นตัวสั่นสะเทือนนั้นจะแตกต่างกันไปตามความยาว สั้นของคันธนู มีเสียงดังไม่มากนัก หาวัตถุที่ช่วยให้การเปล่งเสียงมากขึ้น จึงใช้วัตถุที่กลวงโดยเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเช่น ผลน้ำเต้า กะโหลกมะพร้าว กระบอกไม้ไผ่หรือไม้ที่ขุดทะลุทะลวงตลอด จึงเรียกส่วนนี้ว่า วีณโปกขร หรือกระพุ้งพิณ(Resonator)(อุดม อรุณรัตน์. 2526:91) 

     พิณของชนเผ่าสุเมเรียน ที่เรียกว่า ไลร์ มีมาแล้วก่อนคริสตศักราชถึง 3,000 ปี และใช้กันอย่างกว้างขวางในกลุ่มชนอียิปต์โบราณ กรีกโบราณและยุโรปสมัยกลาง ในแอฟริกา มันถูกใช้เล่นประกอบในพิธีกรรมบางอย่าง (Lsaacs and Martin.1982:225-226) ในลัทธิของศาสนาพราหมณ์มีความเชื่อมั่นว่าการบูชาด้วยเสียงดนตรีที่มีสายติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน เป็นวิถีอันที่จะบรรลุถึงซึ่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระศิวะได้(เดอบาร์รี 2512:513)

    ในทางพุทธศาสนานั้น วิถีพระโพธิญาณ ของสมเด็จพระมหาสัตว์ก็ได้อาศัยสายกลางแห่งพิณที่สมเด็จพระอัมรินทราธิราชทรงดีดถวายถึงได้ตรัสรู้สำเร็จสมโพธิญาณว่า การบำเพ็ญเพียรแสวงหาโมกษธรรมนั้น ถ้าเคร่งครัดนักก็เปรียบเสมือนการขึ้นสายพิณให้ตึงเกินไปดีดแล้วย่อมขาดถ้าหย่อนยานนักย่อมไม่มีเสียงไพเราะเหมือนขึ้นสายพิณหย่อน แต่ถ้าทำอยู่ในขั้นมัชฌิมาปานกลาง ก็เปรียบเสมือนการขึ้นสายแต่เพียงพอดีกับระดับเสียงย่อมจะให้เสียงดังกังวานไพเราะแจ่มใส ดังใจความในวรรณคดีเรื่อง พระปฐมสมโพธิถากลางถึงพิณไว้ในตอนทุกกิริยาปริวรรต ปริจเฉทที่ 8 ว่า

     ขณะนั้น สมเด็จอมรินทราธิราชทราบในข้อปริวิตก ดังนั้น จึงทรงซึ่งพิณทิพย์ สามสายลงมาดีดถวายพระมหาสัตว์ สายหนึ่งเคร่งนัก พอดีดก็ขาดออกไป  สายหนึ่งหย่อนนักดีดเข้าก็ไม่บันลือเสียงและสายหนึ่งนั้นไม่เคร่งไม่หย่อนเป็นปานกลางดีดเข้าก็บรรลือศัพท์ ไพเราะเจริญจิต พระมหาสัตว์ได้สดับเสียงพิณก็ถือเอานิมิตอันนั้นทรงพิจารณาแจ้งว่า มัชฌิมปฏิบัตินั้นเป็นหนทางพระโพธิญาณ

     วรรณคดีเรื่องสักกปัญหสูตร ได้กล่าวถึงพิณที่พระปัญจสังขรดีดไว้ในสักกปัญหสูตรทีฆนิกายมหาวรรค (อุดม อรุณรัตน์.2526 :93-96) ไว้ว่า พิณมีสีเหลืองเหมือนผลมะตูมสุก กระพุ้งพิณนั้นแล้วด้วยทองทิพย์  คัณพิณแล้วด้วยแก้วอินทนิล สายนั้นแล้วด้วยเงินงามลูกบิดแล้วด้วยแก้วประพาฬ พลางขึ้นสายทั้ง 50 ให้ได้เสียงแล้วจึงดีดพิณให้เปล่งเสียงอันไพเราะ นอกจากจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในการยังพิณให้เปล่งเสียงแล้ว  พระปัญจสิงขรยังคิดแต่งเพลงขับได้อย่างไพเราะไว้เป็น คีตูปสญหิโต ธมโม ธรรมประกอบคีตอีกด้วย บรมครูทางดนตรีไทยถึงได้ยกย่องบูชาพระปัยจรสิงขรว่า เป็นครูทางดนตรีไทยถึงได้ยกย่องบูชาพระปัญจรสิงขรว่าเป็นครูทางดนตรี (การเปล่งเสียงจากสาย) จึงได้บรรจุไว้ในโองการไหว้ครูดุริยดนตรีไทยว่า พระปัญจสิงขร พระกรเธอถือพิณดีดดังเสนาะสนั่น

     

     คนไทยได้เคยใช้พิณหรือซุงเป็นเครื่องบรรเลงมาแต่ครั้งโบราณ  จากหลักฐานภาพปูนปั้นประดับฐานเจดีย์ที่เมืองโบราณ บ้านคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นรูปนางทั้งห้า บรรเลงดุริยดนตรี  นางหนึ่งบรรเลงพิณเพียะ นางหนึ่งดีดพิณ 5 สาย นางหนึ่งตีกรับ นางหนึ่งตีฉิ่ง และอีกนางหนึ่งเป็นนักร้องขับลำนำ ภาพปูนปั้นดังกล่าวเป็นศิลปะสมัยทวารวดี   สันนิษฐานว่า คงปั้นขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16(สำเร็จ คำโมง.  2538 : 477) สันนิษฐานว่าพิณเข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณ  1,000 ปีมาแล้ว ซึ่งของเดิมมาจากจีนตอนใต้ โดยที่เราได้ดัดแปลงนำเข้าไปเล่นกับเครื่องดนตรีไทย เช่น ระนาด ฆ้องวง ซอ กลอง ฉิ่ง ฯลฯ เราเรียกวงนี้ว่า วงพิณพาด ต่อมาพิณได้หายไปจากวงพิณพาด ด้วยเหตุใดไม่ปรากฏกลับมาใช้ปี่แทน เรียกวงพิณพาดใหม่ว่า วงปี่พาด (ประยุทธ  เหล็กกล้า.2512:44)

      สำหรับซุง หรือพิณของคนไทยภาคอีสานนั้น  น่าที่จะวิวัฒนาการขึ้นมาจากสะนุ (หรือธนู) ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่มีสายขึงเป็นรูปคันธนูใช้ดีดเล่นหรือผูกหัวว่าวชักขึ้นไปในท้องฟ้า ให้ลมบนพัดแล้วเกิดเสียงส่วนที่เป็นเต้าเสียงนั้น น่าที่จะมาจาก  2 ทาง คือ จากกระบอกไม้ไผ่ เพราะยังมีพิณกระบอกไม้ไผ่ให้เด็กเล่นอยู่ในสังคมไทยภาคอีสาน และอีกทางหนึ่งมาจากพิณสายเครือหญ้านาง ซึ่งขุดหลุมลงไปในดินเป็นเต้าขยายเสียง และขึงสายเครือหญ้านางเป็นสายพิณพาดบนปากหลุมนั้น มัดหัวท้ายของสายเข้ากับหลัก 2 หลัก เวลาเล่นใช้ตีหรือดีดสายเกิดเสียง ดังตึงตึงคล้ายกลอง

วิชานาฏศิลป์ เรื่อง ระบำมาตรฐาน (2)
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

เนื่องจากรายวิชา นาฏศิลป์ เรื่อง ระบำมาตรฐาน มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นวิชาที่มาจากแม่แบบ เพลงช้าเพลงเร็ว และแม่บทเล็กแม่บทใหญ่ ที่เป็นแม่ท่าของการแสดงนาฏศิลป์ทั้งมวล และด้วยปัญหา โควิด 19  จึกทำให้การเรียนการสอนมีการปรับมาเป็นการเรียนแบบออนไลน์มากขึ้น ซึ่งสะดวกและเข้ากับสภาพปัจจุบันที่มีการลดการพบประ และการสัมภผัส ซึ่งเนื่้อหาก็จะเกี่ยวข้องกับ ประวัติความเป็นมาของระบำมาตรฐาน ประวัติความเป็นมาของระบำแต่ละเพลง ความหมาย การแต่งกาย ดนตรี และโอกาสที่แสดง จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่นักเรียนจะต้องรู้ ซึ่งระบำมาตรฐานของไทย มี 5 เพลง 

1. ระบำเทพบันเทิง

2. ระบำย่องหงิด

3. ระบำกฤดาภินิจหาร

4. ระบำดาวดึงส์

5. ระบำพรหมาสตร์

ซึ่งนักเรียนต้องสามารถทำได้ตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา ทั้งการบอก การปฏิบัติ และแม้กระทั่งการสื่อถึงความรู้สึกนึกคิด ซึ่งจะเป็นการวัดผลและประเมินผลของครูผู้สอนประจำรายวิชา

เนื้อหาที่สอน

๑. เป็นการกล่าวทักทายกันระหว่างครูผู้สอนกับนักเรียนที่จะเริ่มทำกิจกรรมในการเรียนการสอนในครั้งนี้

๒. เป็นการบอกให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ที่ครูผู้สอนต้องการจากนักเรียน

๓. การทบทวนความรู้เบื้องต้นที่นักเรียนมีต่อวิชานาฏศิลป์ เป็นเนื้อหาเดิมที่นักเรียนเคยได้เรียนผ่านมาแล้ว ละเข้าสู้เนื้อหาประวัติความเป็นมาของ ระบำมาตรฐาน

๔. บอกการแต่งกายแบบยืนเครื่องพระนาง ตามเเบบฉบับของนาฏศิลป์ไทย

๕. เริ่มเข้าสู่การเรียนการสอนแบบทีละเพลงตามรูปแบบ

๖. เมื่อจบเนื้อหาที่สอนก็กล่าวอำลา

นาฏยศัพท์ (2)
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

ที่สร้างบทเรียนออนไลน์มาในช่วงนี้เพื่อที่จะให้นักเรียนลดการติดเชื้อ จากสถานกานณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือโควิด 19และให้นักเรียนต้องอยู่บ้าน ไม่ออกมารวมกลุ่ม ไม่ออกไปทำงาน รวมถึงไม่ออกไปเรียนหลังสือ

ทว่าเมื่อเกิดการระบาดของโควิด การเรียนในโหมดออนไลน์ก็ได้กลายจากทางเลือกมาเป็นทางหลักของการเรียนการสอนในหลายพื้นที่ทั่วโลกทันที นักเรียนหลายคนเริ่มกลับมาให้ความสำคัญมากขึ้น กับการเรียนออนไลน์ แน่นอนคงหนีไม่พ้นความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น เพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ให้ตัวเองได้อยู่เสมอ

ข้อดีของการเรียนออนไลน์

1.บริหารเวลาได้ตามความสะดวก

2.วิกฤตไหนก็ไม่เป็นอุปสรรค

3.ทบทวนบทเรียนได้ตลอดเวลา

4.มีหลักสูตรใหม่ๆอัปเดตเสมอ

5.ประหยัดค่าใช้จ่าย

นอกจากนี้ยังพบปัญหาและอุปสรรคในการเรียนออนไลน์ เช่น ผู้ปกคริงไม่มีเวลาในการดูแลบุตรหลานระหว่างการเรียนออนไลน์ รูปแบบการสอนที่ไม่จูงใจทำให้เด็กนักเรียนมีสมาธิไม่เพียงพอ เกิดปัญหาการไม่เข้าใจบทเรียน ความไม่เสถียรของระบบอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อทำให้การเรียนไม่ต่อเนื่อง และปัญหาสภาพเเวดล้อมของที่อยู่อาศัยไม่เหมาะกับการเรียนออนไลนื

ข้อเสียของการเรียนออนไลน์

การสอนที่เป็นการสื่อสารทางเดียว มีโอกาสเกิดความผิดพลาดในการรับรู้ เพราะฉนั้นต้องมีแบบทดสอบที่ประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน เพราะเด็กนักเรียนไม่สามารถไตร่ตรองความถูกต้องของข้อมูล จากการเข้าถึงข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ เด็กนักเรียนใช้เวลาเสพออนไลน์มากเกินควร 

การศึกษาออนไลน์ มันย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย มันอยู่ที่ว่าเราจะศึกษามาทางด้านไหนมากกกว่า มันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และอะไรหลายๆอย่าง ขึ้นอยู่กับทั้งผู้เรียนและผู้สอนต้องร่วมมือกัน เพื่อจะก้าวผ่านอุปสรรคทางการเรียนออนไลน์ไปด้วยกันได้

การละครแบบดั้งเดิม (2)
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

บทนี้เรียนสร้างเพื่อทำการเรียนการสอนในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนเเละทำความเข้าใจกับเนื้อหาของบทเรียน สามารถใช้มือถือ แท็ปเลต โบ๊ตบุ๊คและสามารถเรียนเมื่อไหร่ ที่ไหน ก็ได้ เพื่อความสบายใจของนักเรียนเเละผู้ปกครองทุกคน ทั้งนี้ขอให้นักเรียนทุกคนดูแลตนเองให้ดี เราจะผ่านโรคร้ายนี้ไปด้วยกันค่ะ สู้ๆ

บทเรียนนี้จะประกอบไปด้วย

1.ละครชาตรี

2.ละครนอก

3.ละครใน

มีการเเนบวิดีโอให้นักเรียนได้ดูเเละทำความเข้าใจด้วนตนเอง เเละมีการสั่งงานต่างๆผ่านระบบออนไลน์ ฝากผู้ปกครองดูเเลเด็กในปกครองของท่านด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

นาฏศิลป์พื้นเมือง ป.6 (2)
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

การสร้างบทเรียนในระะบบออนไลน์ มีประโยชน์ต่อผู้สอนและผู้เรียนเป็นอย่างมาก เนื่องด้วยสถานการณ์ โควิด 19 ส่งผลกระทบให้กับการศึกษาภายในประเทศไทยต้องเปลี่ยนรูปแบบใหม่ จากการเรียนในห้องเรียนเข้ามาเป็นการเรียนในระบบออนไลน์มากขึ้น และได้จัดการเรียนการสอนในระบบเพื่อเป็นการเซฟแก่ตัวนักเรียนและผู้สอน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการอยู่ร่วมเกินจำนวนจำกัดเพื่อเลี่ยงต่อการสัมผัส อีกทั้งยังสะดวกสบายต่อการเดินทาง ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และยังสามารถเข้าไปดูเนื้อหาในรายวิชาได้ตลอดโดยไม่ต้องรอเวลา เละยังเป็นการร่วมมือร่วมใจกันในการป้องกันโควิด 19 ด้วย 

ในการสร้างการเรียนการสอนในรายวิชานาฏศิลป์พื้นเมืองในรูปแบบออนไลน์ เป็นรายวิชาที่สร้างความรู้ใหม่ๆให้กับนักเรียนเพราะเนื้อหาในการการเรียน บอกถึงความสำคัญในการแสดงของแต่ภาค ทั้ง 4 ภาค ไม่ว่าจะเป็น ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคอีสาน ทำให้นักเรียนได้เข้าไปศึกษาในเนื้อหาวิชาได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ 

นาฎยศัพท์เบื้องต้น ป.6 (2)
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

 การเรียนนาฏศิลป์มีความมุ่งหมายดังนี้

1.      เพื่อเป็นการปลูกฝังและส่งเสริมนิสัยทางศิลปะแก่ผู้เรียน

2.      เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจยิ่งขึ้น

3.      เพื่อเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่สืบไป

4.      เพื่อเป็นการฝึกให้รู้จักกล้าแสดงออก

ประโยชน์ในการเรียนนาฏศิลป์

การเรียนนาฏศิลป์ทำให้เกิดประโยชน์ดังนี้

1.      ทำให้เป็นคนรื่นเริงแจ่มใส

2.      มีความสามัคคีในหมู่คณะ

3.      สามารถยึดเป็นอาชีพได้

4.      ทำให้รู้จักดนตรีและเพลงต่าง ๆ

5.      ทำให้เกิดความจำและปฏิภาณดี

6.      ช่วยให้เป็นคนที่มีบุคลิกท่าทางเคลื่อนไหวสง่างาม

7.      ช่วยในการออกกำลังกายได้เป็นอย่างดี

8.      ได้รับความรู้นาฏศิลป์จนเกิดความชำนาญ  สามารถปฏิบัติได้ดีมีชื่อเสียง

 วิธีเข้าสู่บทเรียนให้นักเรียนทุกคน ใส่รหัส 01234 เพื่อเข้าสู่เนื้อหาบทเรียนรายวิชา นาฏยศัพท์เบื้องต้น

แม้การปิดโรงเรียนอาจทำให้ครูและนักเรียนเริ่มปรับตัวกับการเรียนออนไลน์ได้มากขึ้น แต่ถึงอย่างไร การเรียนที่ห้องเรียนก็ยังคงเป็นแนวทางที่หลายโรงเรียนอยากใช้มากกว่า เมื่อสถานการณ์การระบาดของโควิดเริ่มเบาบางลง หรือเริ่มมีแนวทางชัดเจนที่จะควบคุมได้ หลายประเทศจึงเลือกที่เปิดโรงเรียนต้อนรับเด็กๆอีกครั้งแทนที่จะยังคงเดินหน้าเรียนออนไลน์เต็มรูปแบบ อย่างไรก็ตาม การกลับมาเปิดโรงเรียนใหม่ไม่ใช่เรื่องที่คิดแล้วจะทำได้อย่างง่ายๆ ทันที แต่ยังมีหลายปัจจัยที่ผู้วางนโยบายการศึกษาและโรงเรียนต้องคำนึงในช่วงที่สถานการณ์ยังไม่ได้กลับมาเป็นปกติ 

ข้อแนะนำสำหรับผู้ปกครองนะคะ

-เปิดโอกาสให้เด็กได้ระบายความคิดความรู้สึกไม่ดี ให้เด็กรู้สึกมั่นคงปลอดภัย

-ควรให้เด็กอยู่ใกล้ชิดผู้ปกครองให้มากที่สุดเมื่อเด็กจับโทรศัพท์

-พยายามทำกิจวัตรประจำวันให้เหมือนเดิมที่สุด

-มีข้อตกลงกติกาในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ในช่วงนี้อาจยืดหยุ่นเวลาเพราะจำเป็นสำหรับเด็กและวัยรุ่นในการติดต่อสื่อสารกับเพื่อน

-หลีกเลี่ยงการพูดถึงข้อมูลที่บิดเบือน ไม่พูดถึงข่าวลือทางลบต่อหน้าเด็ก

-เป็นตัวอย่างที่ดีในการจัดการอารมณ์ เพราะเด็กจะคอยสังเกต ซึมซับและนำไปใช้กับตัวเอง

การแสดงพื้นเมือง(2)
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง ในการสร้างบทเรียนอีเลินนิ่งในสถานการณ์โควิด-19

ในปัจจุบันมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนแก่ตัวผู้เรียนและผู้สอนหลากหลายประการด้วยกัน ทั้งในเรื่องการเรียน เรื่องการใช้ชีวิตประจำวันที่สามารถช่วยในการป้องกันโรคไวรัสได้ในสถานการณ์โควิด-19 ซึ้งช่วยให้ตัวผู้เรียนและตัวผู้สอนนั้นเซฟตัวเองในระดับหนึ่ง เป็นส่วนที่ช่วยควบคุมและลดภาระการติดเชื้อเพิ่มให้แก่บุคคลากรทางการแพทย์และทางหน่วยภาครัฐต่างๆได้ การเรียนการสอนผ่านระบบอีเลินนิ่งนี้สำหรับการศึกษานั่นทำให้เด็กหรือผู้เรียนนั้นได้มีการศึกษาความรู้ได้ในช่วงเวลาต่างๆที่บ้านหรือสถานที่ต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็นการกักตัวก็สามารถเรียนรู้ได้ หรือทำภาระกิจติดธุระในสถานที่ต่างๆก็สามารถทำให้เรียนได้หาความรู้ได้ในอีเลินนิ่ง สามารถลดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี และประหยัดแก่การเดินทางมาศึกษาในสถานศึกษาลดภาระให้แก่ผู้ปกครองทางบ้าน ลดความเสี่ยงการเดินทางต่างๆทางรถโดยสาร รถประจำทาง การขนส่งต่างๆ 

นาฏศิลป์พื้นเมืองในอีเลินนิ่งนั้น มีประโยชน์อย่างมากแก่การเสริมสร้างพัฒนาการต่่างๆให้แก่นักเรียนนักศึกษา ได้ศึกษาหาความรู้ ประวัติความเป็นมาที่สำคัญหรือแม้กระทั่งท่ารำเบื้อต้นสำหรับนาฏศิลป์พื้นเมือง สามารถสร้างบทเรียนออนไลน์ไว้ให้นักศึกษาได้หาความรู้ย้อนหลังเพิ่มเติมได้ตลอดเวลาที่อยู่ในสถานที่ต่างๆ สามารถนำบทเรียนออนไลน์ไปเรียนรู้ไปใช้ในการเรียนการสอบ การทำแบบฝึกหัดก่อนเรียนและหลังเรียนได้ และสามารถช่วยปฏิบัติท่าทางได้ช่วยทำให้รู้ในเพลงต่างๆว่าต้องการใช้ท่าทางแบบใด

การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองในเนื้อหาอีเอินนิ่งยกตัวอย่าง 

1. กาารแสดงเซิ้งกระติ๊บ เป็นการแสดงพื้นเมืองทางภาคอีสานมีความเป็นมาอย่างไร ใช้เพลงทำนองแบบใด และการแสดงใช้ท่าในรูปแบบใดเช่นมีการใช้กระติ๊บมาเป็นส่วนประกอบในเพลงและรำทำท่ากำมือ โดยเนื้อความรู้จะใส่ไปในอีเลินนิ่งนักเรียนนักศึกษาสามารถหาความรู้และนำมาใช้ประกอบการเรียนต่างๆได้รวมถึงใช้ท่าเบื้องต้นมาประบุกต์ใส่ในเพลงได้อย่างสวยงามและสร้างสรรค์อย่างลงตัว เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างแรงกระตุ้นการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนได้มีความกระตือรือร้นที่จะอยากอ่านเนื้อหาความรู้จากอีเลินนิ่ง

2. การแสดงฟ้อนเล็บ เป้นการแสดงภาคเหนือ นักเรียนนักศึกษาสามารถเรียนรู้บทเรียนได้จากอีเลินนิ่งหาประวัติความเป็นมาความรู้ของท่าทางเบื้อต้นของภาคเหนืออุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงรวมไปถึงสามารถนำมาดัดแปลงประยุกต์เข้ากับการแสดงการสร้างสรรค์ต่างๆได้ และสามารถนำความรู้ไปต่อยอดในเรื่องของการเรียนทำแบบฝึกหัดหรือสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาใหม่ได้อย่างสวยงามวิจิตร

3.การแสดงตาลีดีปัส การแสดงภาคใต้ ในบทเรียนอีเลินนิ่งได้มีการจัดการแสดงตาลีกีปัสที่มีพัดเป้นส่วนประกอบในการแสดงอย่างสวยงามรวมทั้งลวดลายผ้าถุงการแต่งกายที่บ่งบอกถึงเอกลักษณืของทางภาคใต้ ซึ้งสามารถเรียนรู้ได้จากอีเลินนิ่งที่มีบทเรียนเนื้อหาความรู้ไว้ให้นักเรียนนักศึกษาได้ทำความรู้เข้าใจนำไปต่อยอดต่างๆได้อย่่างลงตัว

4.การแสดงเต้นกำรำเคียว การแสดงภาคกลางเป็นการแสดงที่ชาวนารำเกี้ยวกันร้องเพลงหยอกล้อกันที่มีการแต่งกายและเพลงที่เป็นภาษาทางภาคกลางมีเนื้อหาบทเรียนในอีเลินนิ่งที่บ่งบอกถึงประวัติความเป็นมาและท่าทางต่างๆให้นักเรียนได้ทำความเข้าใจและนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำได้นำไปศึกษาเรียนต่อได้ในการศึกษาของรายวิชานาฏศิลป์พื้นเมืองและสามารถนำไปพัฒนาเป็นการแอสดงต่างๆได้

ภาษาท่าและนาฎยศัพท์ (2)
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

ภาษาท่าและนาฏยศัพท์มีประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ในช่วงโควิด 19 ในด้านการใช้สื่อการสอน ไม่ว่าจะเป็นสื่อการสอนแบบเพาเวอร์พ้อย สื่อรูปภาพ สื่อที่เป็นเสียงวิดีโอต่างๆ ของกระบวนภาษาท่าและนาฏยศัพท์ โดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนผ่านโปรแกรม ซูม ซึ่ง การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบดังกล่าว จะทำให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้แก่

ประโยชน์ต่อผู้เรียน คือ ผู้เรียนมีความกะตือรือร้นในการเรียน  ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเองมากขึ้น  ผู้เรียนเกิดความรู้ใหม่ๆทางด้านเทคโนโลยี  

ประโยชน์ต่อสถานศึกษา คือ ช่วยยกระดับทางด้านวิชาการ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน  ยกระดับความสามารถในด้านการจัดการเรียนการสอนของคณะครูในสถานศึกษา และยังช่วยยกระดับสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง คือ ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการให้คำปรึกษาและสามารถเป็นสื่อการเรียนการสอนเพิ่มเติมให้กับผู้เรียนได้

ประโยชน์ต่อชุมชน คือ ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน

โดยผู้สอนจะส่งคิวอาโค้ชให้แก่ผู้เรียน จะทำให้ผู้เรียนมีการเรียนแบบง่ายขึ้น โดยที่ผู้เรียนสามารถเรียนออนไลน์ผ่านโน้ตบุ้ค และโทรศัพท์ก็ได้

สอนเป่าขลุย ม.1
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา
  เลาขลุ่ย   คือ ตัวขลุ่ย มีขนาดแตกต่างกันไปตามชนิดของขลุ่ย มักนิยมประดิษฐ์ลวดลายต่าง ๆ ลงบนตัวขลุ่ย
 
เช่น ลายดอกพิกุล ลายหิน และลายลูกระนาด เป็นต้น  ถ้าเป็นขลุ่ยไม้ไผ่ นิยมจะทำลวดลายลงบนเลาขลุ่ย แต่ถ้า
 
เป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ชิงชัน ไม้พยุง ไม้งิ้วดำ ฯลฯ จะไม่นิยมทำลายลงบนเลาขลุ่ย แต่อาจจะมีการลงรัก ประกอบ
 
มุก ประกอบงาแทน 

     - ดาก   คือ ไม้อุดปากขลุ่ย นิยมใช้ในไม้สักทอง เหลากลมให้คับแน่นกับร่องภายในของปากขลุ่ย ฝานให้เป็น
 
ช่องว่าง ลาดเอียงตลอดชิ้นดาก ให้เป่าลมผ่านไปได้

     - รูเป่า  เป็นรูสำหรับเป่าลมเข้าไป

     - รูปากนกแก้ว เป็นรูที่เจาะร่องรับลม จากปลายดากภายในขลุ่ย อยู่ด้านเดียวกับรูเป่า อยู่สุดปลายดากพอดี 
 
เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปากนกแก้วนี้ทำให้เกิดเสียง เทียบได้กับลิ้นของขลุ่ย

     - รูเยื่อ เป็นรูสำหรับปิดวัสดุที่ทำให้เสียงสั่นพริ้ว มักใช้เยื่อไม้ไผ่ หรือเยื่อหัวหอมปิด อยู่ด้านขวามือ ในปัจจุบัน 
 
หาขลุ่ยที่มีรูเยื่อไม่ค่อยได้แล้ว

     - รูค้ำ หรือรูนิ้วค้ำ เป็นรูสำหรับให้นิ้วหัวแม่มือปิด เพื่อบังคับเสียง และประคองเลาขลุ่ยขณะเป่า อยู่ด้านล่าง
 
เลาขลุ่ย ต่อจากรูปากนกแก้วไปทางปลายเลาขลุ่ย

     - รูบังคับเสียง เป็นรูที่เจาะเรียงอยู่ด้านบนของเลาขลุ่ย มีอยู่ ๗ รู ด้วยกัน

     - รูร้อยเชือก มี ๔ รู หรือ ๒ รูก็ได้ อยู่ทางส่วนปลายของเลาขลุ่ย โดยการเจาะทะลุบน-ล่าง และ ซ้าย-ขวา ให้
 
เยื้องกันในแต่ละคู่  ช่างบางคนได้กล่าวไว้ว่า ความจริงจุดประสงค์หลักไม่ได้ไว้ร้อยเชือก ที่จริง ทำเพื่อให้เสียงของ
 
ขลุ่ยได้ที่นั่นเอง
 

วิธีเป่าขลุ่ยเพียงออ 
          
         ให้เผยอริมฝีปากด้านบนและล่างจรดลงบนรูปากเป่า จัดเลาขลุ่ยให้ตั้งได้มุมประมาณ  ๔๕  องศา กับลำตัวโดยทอดแขนไว้ข้างลำตัวพองาม (ไม่กางศอกมากจนเกินไป) เป่าลมให้เหมาะสมไม่เบาและแรงจนเกินไป

ท่านั่งเป่าขลุ่ยเพียงออ

          การเล่นเครื่องดนตรีไทยทุกชนิด   นักดนตรีต้องสำรวมกิริยามารยาทปฏิบัติให้เรียบร้อย ให้ความเคารพต่อครูบาอาจารย์ เครื่องดนตรี ผู้ฟัง ตลอดจนนักดนตรีด้วยกันเอง การนั่งเป่าขลุ่ยต้องนั่งตัวตรงเพื่อให้ลมเดินสะดวก  ไม่นั่งก้มหน้า ถ้านั่งกับพื้นควรนั่งพับเพียบ

ท่าจับขลุ่ยเพียงออ 

              การจับขลุ่ยแบบไทยโดยประเพณีนิยมมาแต่โบราณจะจับเอามือขวาอยู่ข้างบนมือซ้าย(แต่ถ้าจับแบบสากลนิยมจับเอามือซ้ายไว้ด้านบนมือขวาไว้ด้านล่าง) ซึ่งสันนิษฐานว่าคนส่วนใหญ่ถนัดมือขวามากกว่ามือซ้าย

 

วิธีจับขลุ่ยเพียงออ
              
               มือบนจับเลาขลุ่ย ๓ รูด้วยนิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนาง อยู่ในลักษณะที่พร้อมจะปิด-เปิดรูบังคับเสียง (ซึ่งอยู่ด้านบนของเลาขลุ่ย) เรียงลงมาตามลำดับตั้งแต่รูที่อยู่บนสุดถึงรูที่สาม นิ้วหัวแม่มือปิดรูค้ำด้านหลังไว้ พร้อมทั้งใช้นิ้วก้อยประคองด้านล่างของเลาขลุ่ยไว้มือล่างจับเลาขลุ่ยส่วนล่าง ๔ รู ด้วยนิ้วชี้  นิ้วนาง นิ้วกลางและนิ้วก้อย เรียงลงมาตามลำดับนิ้วหัวแม่มือยันขลุ่ยด้านหลัง   จับเลาขลุ่ยให้แขนส่วนปลายทั้งขวาและซ้ายได้ฉากกับเลาขลุ่ยพอประมาณโดยกางข้อศอกพองาม

ลักษณะการวางนิ้ว
 

              ลักษณะการวางนิ้วของมือซ้ายและมือขวา   ให้วางลักษณะขวางกับเลาขลุ่ยโดยนิ้วอยู่เหนือรูบังคับเสียงประมาณ ๑ เซนติเมตรและใช้นิ้วบริเวณผิวหนังส่วนที่นูนใต้ปลายนิ้ว เป็นส่วนที่ใช้ปิด-เปิดรูบังคับเสียง  การวางนิ้วเพื่อปิดรูบังคับเสียง ต้องพยายามปิดรูให้สนิท มิฉะนั้นจะทำให้สียงขลุ่ยที่เป่าออกมา ดังผิดเพี้ยนโดยเฉพาะเสียงโด (ด)เป็นเสียงที่เป่ายากที่สุด

เทคนิคของขลุ่ยเพียงออ

 
        การที่เราจะเป่าขลุ่ยให้ไพเราะนั้น ย่อมมีเทคนิคต่างๆกันเช่น การเปาให้มีเสียงสั่น เสียงเอื้อน เสียงรัว หรือมีเสียงควง ประกอบด้วยเป็นต้น การเป่าให้ได้เสียงที่กล่าวไว้นั้น ต้องอาศัยการหมั่นฝึกฝน โดยมีวิธีการหลายอย่างดังนี้
        ๑.การเป่าเสียงสั่น

                 ต้องบังคับลมให้ออกมาเป็นช่วงๆ ให้ลมทยอยออกมาถี่ๆ หรือห่างๆตามต้องการที่จะทำให้เกิด เสียงคล้ายคลื่นตามอารมณ์ของเพลง


         ๒.การเป่าเสียงรัว

                หรือการพรมนิ้วทำได้โดยใช้นิ้วเปิดปิดสลับกันถี่ๆ ใช้สอดแทรกเพื่อให้เพลงเกิดความไพเราะมาก ยิ่งขึ้น


         ๓.การเป่าเสียงเอื้อน 

               คือการใช้นิ้วค่อยๆเปิดบังคับลมให้เสียงขลุ่ยโรยจากหนักไปเบาหรือจากเบาไปหนักที่เสียงใดเสียงหนึ่ง


         ๔.เสียงโหยหวน 

               หวน ใช้ลมและนิ้วบังคับเพื่อให้เสียงต่อเนื่องระหว่างสองเสียง เช่นเสียงคู่สาม คู่ห้า ซึ่งเป็นเสียงที่มีความ กลมกลืนกันมากเท่ากับเสียงโดกับเสียงซอล เป็นต้น


         ๕.การหยุด 

               หรือ การชะงักลม การเป่าขลุ่ยบางจังหวะควรมีการหยุด การเบา การเน้นเสียงบ้าง เพื่อให้เพลงเกิด ความไพเราะมากขึ้น


         ๖.เสียงเลียน 

                หรือ เสียงควง คือการทำเสียงโดยใช้นิ้วต่างกันแต่ได้เสียงเดียวกัน ใช้เมื่อทำนองเพลงช่วงนั้นยาว ทำได้โดยการเป่าเสียงตรงก่อน แล้วจึงเป่าเสียงเลียนและกลับมาเป่าเสียงตรงเมื่อหมดจังหวะการเป่าโดยใช้เสียงตรงและเสียงเลียนนี้จะทำให้เพลงเกิดความไพเราะได้อีกแบบหนึ่ง นอกจาก นี้ยังมีประโยชน์อย่างมากในการเลือกขลุ่ย เพราะขลุ่ยที่ดีเสียงตรงกับเสียงเลียนต้องเท่ากัน


         ประการสุดท้ายผู้ฝึกหัดควรหาโอกาสฟังการเดี่ยวขลุ่ย หรือเสียงขลุ่ยที่บรรเลงในวงดนตรีไทย จากวิทยุ เทป หรืด ซีดี ให้มากๆ แล้วใช้ความสังเกต จากการฟังจดจำเอาแบบอย่างมาฝึกฝนให้เชี่ยวชาญต่อไป

 

การรักษาขลุ่ย 

 

         ขลุ่ยถ้าทิ้งไว้นาน ๆ จะแห้ง ดากจะหดตัวลง ทำให้เป่าเสียงไม่ใส การที่จะให้ขลุ่ยเสียงดีพระยาภูมีเสวินได้ให้

 

คำแนะนำว่าให้นำขลุ่ยแช่น้ำผึ้งให้ท่วมปากนกแก้ว น้ำผึ้งจะช่วยให้ขลุ่ยชุ่มอยู่เสมอและขยายตัว ไม่มีช่องที่ลมจะรั่ว

 

ได้ หรืออีกวิธีหนึ่งทำโดย นำขลุ่ยไปแช่ในน้ำตาลสดหรือน้ำตาลเมาหลาย ๆ วัน จะทำให้เนื้อได้อยู่ตัว มอดไม่

 

รบกวน นอกจากนี้ควรระวังด้านอื่น ๆ คืออย่าให้ถูกความร้อนนาน ๆ ไม่ควรเอาไม้หรือวัสดุอื่นแหย่เข้าไปในปากนก

 

แก้ว เพราะอาจทำให้แง่ของดากภายในบิ่น เสียงจะเสียไปได้ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีที่ต้องใช้ปากเป่าโดยตรง ฉะนั้น

 

การรักษาความสะอาดจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยมีวิธีการบำรุงรักษาดังนี้ 


            ๑.ก่อนหรือหลังเป่าขลุ่ยควรทำความสะอาดโดยการขัดเช็ดทุกครั้ง แต่ห้ามนำไปล้างในอ่างน้ำ หรือตาก

 

แสงแดดโดยตรง เพราะจะทำให้เกิดการยืดหรืดหดตัวได้ อันเป็นสาเหตุทำให้เสียงขลุ่ยเปลี่ยนไป ควรใช้

 

แอลกอฮอล์เช็ดเพื่อฆ่าเชื้อบริเวณที่เป่าด้วย


            ๒.อย่าใช้ขลุ่ยร่วมกับผู้อื่น เพราะอาจเป็นแหล่งแพร่เชื้อได้


            ๓.อย่าให้ตกหล่น เพราะขลุ่ยนี้ทำด้วยไม้หรือพลาสติกอาจแตกหักได้


            ๔.ถ้าไม่มีความรู้จริงๆ อย่าไปตกแต่งรูขลุ่ยเพราะจะทำให้เสียงเพี้ยนได้


            ๕.หลังการใช้ควรเก็บใส่ถุงให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันแมลงหรือสัตว์เล็กๆเข้าไปอาศัย

พิณดนตรี ม.6
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

ประวัติความเป็นมาของพิณ

    พิณเป็นเครื่องดนตรีในสกุลเครื่องสายซึ่งประกอบด้วย กะโหลกและคอ มีสายขึงใช้ดีด อาจดีดด้วยมือแผ่นพลาสติกหรือแม้แต่เศษวัสดุที่เป็นแผ่นถากออกมาจากเขาสัตว์หรือกระดองเต่า (Midgley.1978:167-179)  มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตตะ หมายถึง เครื่องดนตรีที่มีสายสำหรับดีดเป็นเสียงสันนิษฐานว่า ตตะนี้คงจะได้แบบอย่างมาจากที่ใช้สายขึ้นคันธนู เกิดการสั่นสะเทือน แต่สายธนูที่ทำหน้าที่เป็นตัวสั่นสะเทือนนั้นจะแตกต่างกันไปตามความยาว สั้นของคันธนู มีเสียงดังไม่มากนัก หาวัตถุที่ช่วยให้การเปล่งเสียงมากขึ้น จึงใช้วัตถุที่กลวงโดยเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเช่น ผลน้ำเต้า กะโหลกมะพร้าว กระบอกไม้ไผ่หรือไม้ที่ขุดทะลุทะลวงตลอด จึงเรียกส่วนนี้ว่า วีณโปกขร หรือกระพุ้งพิณ(Resonator)(อุดม อรุณรัตน์. 2526:91) 

     พิณของชนเผ่าสุเมเรียน ที่เรียกว่า ไลร์ มีมาแล้วก่อนคริสตศักราชถึง 3,000 ปี และใช้กันอย่างกว้างขวางในกลุ่มชนอียิปต์โบราณ กรีกโบราณและยุโรปสมัยกลาง ในแอฟริกา มันถูกใช้เล่นประกอบในพิธีกรรมบางอย่าง (Lsaacs and Martin.1982:225-226) ในลัทธิของศาสนาพราหมณ์มีความเชื่อมั่นว่าการบูชาด้วยเสียงดนตรีที่มีสายติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน เป็นวิถีอันที่จะบรรลุถึงซึ่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระศิวะได้(เดอบาร์รี 2512:513)

    ในทางพุทธศาสนานั้น วิถีพระโพธิญาณ ของสมเด็จพระมหาสัตว์ก็ได้อาศัยสายกลางแห่งพิณที่สมเด็จพระอัมรินทราธิราชทรงดีดถวายถึงได้ตรัสรู้สำเร็จสมโพธิญาณว่า การบำเพ็ญเพียรแสวงหาโมกษธรรมนั้น ถ้าเคร่งครัดนักก็เปรียบเสมือนการขึ้นสายพิณให้ตึงเกินไปดีดแล้วย่อมขาดถ้าหย่อนยานนักย่อมไม่มีเสียงไพเราะเหมือนขึ้นสายพิณหย่อน แต่ถ้าทำอยู่ในขั้นมัชฌิมาปานกลาง ก็เปรียบเสมือนการขึ้นสายแต่เพียงพอดีกับระดับเสียงย่อมจะให้เสียงดังกังวานไพเราะแจ่มใส ดังใจความในวรรณคดีเรื่อง พระปฐมสมโพธิถากลางถึงพิณไว้ในตอนทุกกิริยาปริวรรต ปริจเฉทที่ 8 ว่า

     ขณะนั้น สมเด็จอมรินทราธิราชทราบในข้อปริวิตก ดังนั้น จึงทรงซึ่งพิณทิพย์ สามสายลงมาดีดถวายพระมหาสัตว์ สายหนึ่งเคร่งนัก พอดีดก็ขาดออกไป  สายหนึ่งหย่อนนักดีดเข้าก็ไม่บันลือเสียงและสายหนึ่งนั้นไม่เคร่งไม่หย่อนเป็นปานกลางดีดเข้าก็บรรลือศัพท์ ไพเราะเจริญจิต พระมหาสัตว์ได้สดับเสียงพิณก็ถือเอานิมิตอันนั้นทรงพิจารณาแจ้งว่า มัชฌิมปฏิบัตินั้นเป็นหนทางพระโพธิญาณ

     วรรณคดีเรื่องสักกปัญหสูตร ได้กล่าวถึงพิณที่พระปัญจสังขรดีดไว้ในสักกปัญหสูตรทีฆนิกายมหาวรรค (อุดม อรุณรัตน์.2526 :93-96) ไว้ว่า พิณมีสีเหลืองเหมือนผลมะตูมสุก กระพุ้งพิณนั้นแล้วด้วยทองทิพย์  คัณพิณแล้วด้วยแก้วอินทนิล สายนั้นแล้วด้วยเงินงามลูกบิดแล้วด้วยแก้วประพาฬ พลางขึ้นสายทั้ง 50 ให้ได้เสียงแล้วจึงดีดพิณให้เปล่งเสียงอันไพเราะ นอกจากจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในการยังพิณให้เปล่งเสียงแล้ว  พระปัญจสิงขรยังคิดแต่งเพลงขับได้อย่างไพเราะไว้เป็น คีตูปสญหิโต ธมโม ธรรมประกอบคีตอีกด้วย บรมครูทางดนตรีไทยถึงได้ยกย่องบูชาพระปัยจรสิงขรว่า เป็นครูทางดนตรีไทยถึงได้ยกย่องบูชาพระปัญจรสิงขรว่าเป็นครูทางดนตรี (การเปล่งเสียงจากสาย) จึงได้บรรจุไว้ในโองการไหว้ครูดุริยดนตรีไทยว่า พระปัญจสิงขร พระกรเธอถือพิณดีดดังเสนาะสนั่น

     

     คนไทยได้เคยใช้พิณหรือซุงเป็นเครื่องบรรเลงมาแต่ครั้งโบราณ  จากหลักฐานภาพปูนปั้นประดับฐานเจดีย์ที่เมืองโบราณ บ้านคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นรูปนางทั้งห้า บรรเลงดุริยดนตรี  นางหนึ่งบรรเลงพิณเพียะ นางหนึ่งดีดพิณ 5 สาย นางหนึ่งตีกรับ นางหนึ่งตีฉิ่ง และอีกนางหนึ่งเป็นนักร้องขับลำนำ ภาพปูนปั้นดังกล่าวเป็นศิลปะสมัยทวารวดี   สันนิษฐานว่า คงปั้นขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16(สำเร็จ คำโมง.  2538 : 477) สันนิษฐานว่าพิณเข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณ  1,000 ปีมาแล้ว ซึ่งของเดิมมาจากจีนตอนใต้ โดยที่เราได้ดัดแปลงนำเข้าไปเล่นกับเครื่องดนตรีไทย เช่น ระนาด ฆ้องวง ซอ กลอง ฉิ่ง ฯลฯ เราเรียกวงนี้ว่า วงพิณพาด ต่อมาพิณได้หายไปจากวงพิณพาด ด้วยเหตุใดไม่ปรากฏกลับมาใช้ปี่แทน เรียกวงพิณพาดใหม่ว่า วงปี่พาด (ประยุทธ  เหล็กกล้า.2512:44)

      สำหรับซุง หรือพิณของคนไทยภาคอีสานนั้น  น่าที่จะวิวัฒนาการขึ้นมาจากสะนุ (หรือธนู) ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่มีสายขึงเป็นรูปคันธนูใช้ดีดเล่นหรือผูกหัวว่าวชักขึ้นไปในท้องฟ้า ให้ลมบนพัดแล้วเกิดเสียงส่วนที่เป็นเต้าเสียงนั้น น่าที่จะมาจาก  2 ทาง คือ จากกระบอกไม้ไผ่ เพราะยังมีพิณกระบอกไม้ไผ่ให้เด็กเล่นอยู่ในสังคมไทยภาคอีสาน และอีกทางหนึ่งมาจากพิณสายเครือหญ้านาง ซึ่งขุดหลุมลงไปในดินเป็นเต้าขยายเสียง และขึงสายเครือหญ้านางเป็นสายพิณพาดบนปากหลุมนั้น มัดหัวท้ายของสายเข้ากับหลัก 2 หลัก เวลาเล่นใช้ตีหรือดีดสายเกิดเสียง ดังตึงตึงคล้ายกลอง


ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ (2)
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การศึกษาได้มีการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ซึ่งวิชานาฏศิลป์ เรื่อง ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ เป็นวิชาทฤษฎีและปฏิบัติ เมื่อมีสถานการณ์แบบนี้ทางผู้สอนได้จัดทำการสื่อในการสอนออนไลน์ โดยใช้โปรแกรม e-learning เป็นโปรแกรมที่ไว้สอน ในรูปแบบออนไลน์ ในโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่สามารถเปิดเรียนได้อย่างง่ายดาย และจบภายในโปรแกรมเดียว ทั้งใบความรู้ วีดิโอ สื่อการสอน เว็บไซต์ การเสวนาระหว่างผู้สอนและนักเรียน และยังมีโปรแกรมคล้าย ๆ google meet ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เรียนออนไลน์เห็นหน้ากันได้ ซึ่งเป็นประโยชน์และดีต่อผู้สอนและตัวผู้เรียนเองอีกด้วย และ e-learning มีประโยชน์มากมาย และยังเป็นโปรแกรมที่สามารถเข้าถึงได้อย่างดี จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การศึกษาต้องมีการปรับเปลี่ยน วิธีการสอน ก็คือการสอนในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งการสอนในรูปแบบออนไลน์เราจะใช้รูปแบบการสอนโปรแกรม e-learning ซึ่งโปรแกรม e-learning มีประโยชน์ต่อตัวผู้เรียนและผู้สอน โดยในโปรแกรม e-learning จะมีทั้งการกระดานเสวนาซึ่งการโพสต์เสวนานี้จะเสวนาทั้งผู้เรียนและผู้สอนมีการ comment ทั้งความรู้ และมีการแลกเปลี่ยนความคิดกัน ในการโพสเสวนา และโปรแกรมยังมีการมอบหมายงาน ซึ่งในหัวข้อนี้จะพูดสอนจะนำไฟล์เข้าไปและให้ผู้สอนได้เข้าไปศึกษาไฟล์ที่อาจารย์มอบหมาย และยังมีการสร้าง QR code ซึ่งให้ตัวผู้เรียนได้เข้าไปศึกษาโดยการสแกน QR code เข้าไปเรียนได้ และยังมีแหล่งอ้างอิงซึ่งอ้างอิงนี้จะมีทั้งเว็บไซต์ที่เราสามารถค้นหางานจากการที่ผู้เรียนได้โพสต์ลงในระบบ e-learning โดยคุณครูได้ลงเนื้อหาเกี่ยวกับภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทย จะมีทั้งเนื้อหาที่เกี่ยวกับทางกิริยาอาการการแสดงบ่งบอกโดยใช้ท่าทางในการสื่อความหมายออกมาเพื่อให้รู้ว่ากิริยานี้ท่าทางนี้มีความหมายว่าอะไร โดยจะมีทั้งเว็บไซต์ใบความรู้คลิปวีดีโอที่จะเป็นตัวสื่อให้นักเรียนได้เข้าใจและเรียนรู้ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งการเรียนการสอนในครั้งนี้จะต้องมีการอัดวีดีโอหรือว่ามีการเรียนออนไลน์ที่เห็นใบหน้ากันซึ่งในตัวโปรแกรมอีเลินนิ่งนี้ก็ยังมีโปรแกรมที่สามารถที่จะสื่อสารกันได้ อย่างเห็นหน้ากัน ซึ่งโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่สะดวกสบายและเข้าถึงได้อย่างง่ายดาย และมีประโยชน์อย่างเห็นได้ชัด ผู้ปกครองสามารถที่จะแนะนำให้ผู้เรียนเข้าถึงโปรแกรมได้เพราะโปรแกรมนี้ไม่ได้ซับซ้อนและยุ่งยาก เป็นโปรแกรมที่มีการเข้าตามลำดับซึ่งพิมพ์คำว่า e-learning ssru จากนั้นเข้าระบบด้วยรหัสนักศึกษาและรหัสบัตรประชาชน จากนั้นไปที่แผงควบคุมและไปในรายวิชาที่เราจะเข้าเรียน จากนั้นเราก็มาดูว่าผู้สอนให้เราทำอะไร มีการเช็คชื่อมีการให้เขาเข้าไปตอบคอมเม้น ให้เข้าไปโหลดข้อมูล และสุดท้ายเข้าเรียน จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้รู้ว่าการเรียนออนไลน์ด้วยโปรแกรม e-learning มีประโยชน์และมีคุณค่าต่อช่วงในสถานการณ์นี้มาก

การเคลื่อนไหว ป.3 (2)
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

ในสถานการณ์ปัจจุบันมีการเเพร่กระจายของโควิด-19 มีผลกระทบต่อการเรียนการสอนในชั้นเรียนเป็นอย่างมาก เพื่อให้สะดวกต่อการเรียนการสอนในสถานการณ์แบบนี้

ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ มีระบบการเรียนแบบ e-learning ในโปรเเกรม Moodle ที่สามารถให้คณะครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ได้ใช้ประโยชน์ของระบบออนไลน์ในมหาลัยในการเรียนการสอนที่สะดวกมากยื่งขึ้น

แม้ว่าทุกคนไม่ได้เรียนร่วมกัน เเต่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ปกติ เเละระบบสามารถสอนได้หลายวิธีเพื่อให้นักเรียน นักศึกษา เข้าใจในเนื้อหาที่ครูเเละอาจารย์ได้สอนนั่นเอง

เพื่อให้สอดคล้องกับระบบออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ทุกคนที่ต้องใช้งานระบบต้องเตรียมอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ต โทรศัทพ์ อินเทอร์เน็ต และwifi ใช้ในการเรียนการสอนต่อไป

ประโยชน์ของ e-Learning

1.ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเนื้อหา และสะดวกในการเรียน การเรียนการสอนผ่านระบบ e-Learning นั้นง่ายต่อการแก้ไขเนื้อหา และกระทำได้ตลอดเวลา เพราะสามารถกระทำได้ตามใจของผู้้สอน เนื่องจากระบบการผลิตจะใช้ คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลัก นอกจากนี้ผู้เรียนก็สามารถเรียนโดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่

2.เข้าถึงได้ง่าย ผู้เรียน และผู้สอนสามารถเข้าถึง e-learning ได้ง่าย โดยมากจะใช้ web browser ของค่ายใดก็ได้ (แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับผู้ผลิตบทเรียน อาจจะแนะนำให้ใช้ web browser แบบใดที่เหมาะกับสื่อการเรียนการสอนนั้นๆ) ผู้เรียนสามารถเรียนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้ และในปัจจุบันนี้ การเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกระทำได้ง่ายขึ้นมาก และยังมีค่าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่มีราคาต่ำลงมากว่าแต่ก่อนอีกด้วย

3.ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยกระทำได้ง่าย เนื่องจากผู้สอน หรือผู้สร้างสรรค์งาน e-Learning จะสามารถเข้าถึง server ได้จากที่ใดก็ได้ การแก้ไขข้อมูล และการปรับปรุงข้อมูล จึงทำได้ทันเวลาด้วยความรวดเร็ว

4.ประหยัดเวลา และค่าเดินทาง ผู้เรียนสามารถเรียนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ โดยจำเป็นต้องไปโรงเรียน หรือที่ทำงาน รวมทั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องประจำก็ได้ ซึ่งเป็นการประหยัดเวลามาก การเรียน การสอน หรือการฝึกอบรมด้วยระบบ e-Learning นี้ จะสามารถประหยัดเวลาถึง 50% ของเวลาที่ใช้ครูสอน หรืออบรม

อาหารหลัก5หมู่ ป.3 (2)
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

ในสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน โรคโควิดแพร่ระบาดอย่างรุนเเรงเเละต่อเนื่องทำให้นักศึกษาและอาจารย์ไม่สามารถทำการเรียนการสอนในห้องเรียนได้ตามปกติ เราสามารถใช้ระบบ e-learning โดยใช้โปรแกรมMooddleของมหาลัยช่วยในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ แค่นักศึกษามีเครื่องมือทางเทคโนโลยี เช่นคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ อื่นๆ (มีเทคโนโลยีครบเเล้วจะต้องมีอินเตอร์เน็ตด้วยนะค่ะ) ทำให้การเรียนการสอนในระบบเปรียบเสมือนกับการเรียนการสอนในห้องเรียนอย่างเเท้จริง โดยใประยุกต์ใช้โปรเเกรม Mooddle ของ ระบบ e-learningให้ตรงกับเนื้อหาการเรียนการสอนของเราอีกด้วย เพื่อให้ผู้เรียนทเข้าใจเนื้อหา เละได้ความรู้จากการเรียนในระบบของเราได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ ในระบบเราสามารถเปิดกล้องเห็นหน้ากันได้ สามารถเปิดไมค์ตอบปัญหา เช็คชื่อ หรือพูดคุย สื่อสารกันได้อย่างสะดวก แม้กระทั้งการแชร์หน้าจอในการนำเสนองานต่างๆ ในระบบถ้าเราเป็นผู้สอนเราสามารถสร้างบทเรียนเพื่อสอนนักเรียนโดยใช้โปรเเกรม Mooddle ของ ระบบ e-learning ซึ่งในระบบมีเครื่องมือในการสร้างบทเรียนที่หลากหลาย สามารถเลือกใช้และออกแบบการสอนให้นักเรียนได้เรียนรู้ได้ง่ายเเละสะดวกยิ่งขึ้น 

การเคลื่อนไหว2
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

เราจะสอนออนไลน์อย่างไรในสถานการณ์โควิด 19 ในขณะนี้

  เนื่องจากตอนนี้เกิดสถานการณ์โรคระบาด ทำให้ครูและนักเรียนจากที่ได้พบกันในคลาสก็ปรับเปลี่ยนเป็นการเรียนการสอนออนไลน์ โดยที่ครูมีหน้าที่สอนนักเรียนผ่านระบบ e-learning ซึงในตอนนี้ทางมหาวิทยาลัยราชภํฏสุรินทร์ได้พัฒนาระบบการสอนของครูผ่านระบบe-learning สร้างความสะดวกเเก่ครูผู้สอนเป็นอย่างมาก เเละทำให้นักเรียนได้เข้าใจ มีเอกสารไว้อ่านทำความเข้าใจมากขึ้นด้วย และที่สำคัญนักเรียนสามารถกลับมาทบทวนเนื้อหาได้อีกด้วยเมื่อเกิดความไม่เข้าใจ  ระบบe-learningของทางมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เป็นระบบที่ทันสมัยไวต่อการเกิดพัฒนาการการเรียนรู้ต่อผู้เรียนเป็นอย่างมาก เเละเข้าใจตัวนักเรียนอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นระบบอินเตอร์เน็ตก็รวดเร็ว หากผู้ใดสนใจก็สามารถเข้ามาใช้งานได้อีกด้วย

  รายวิชาการเคลื่อนไหวป.4 เป็นสื่อการเรียนการสอนที่สะดวกต่อผู้สอนและผู้เรียนทั้ง2ฝ่าย เพราะในปัจจุบันเกิดโรคระบาด โควิด19 เกิดขึ้นจึงทำให้มีการเรียนการสอนที่เเตกต่างออกไปจากเดิมเป็นอย่างมาก นั่นคือการเรียนออนไลน์ ผู้เรียนเรียนรู้เองโดยการเรียนอยู่ที่พักอาศัย ซึ่งการเรียนการสอนออนไลน์นี้ เราจะเรียนผ่านระบบ e-learning ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เพราะเป็นระบบที่ทันสมัยมีความรวดเร็ว เเละสะดวกสะบายในการเรียนการสอนของตัวผู้สอน เเละตัวผู้เรียนนั่นเอง ในการเรียนการสอนผ่านระบบ e-learning เป็นสื่อการเรียนการสอนที่ในปัจจุบันที่ผู้สอนใช้งานจำนวนมาก เพราะผู้เรียนสามารถเข้าเรียนตอนไหนก้ได้ เมื่อเกิดความสงสัยหรือไม่เข้าใจในเนื้อหาประเด็นตรงไหนก็สามารถกลับไปยังเนื้อหาเดิมได้ โดยที่เนื้อหาเหล่านั้นไม่ได้หายไปไหน และจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ผู้สอนต้องการ

แฮนด์บอล2
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

     เนื่องในสถาณการณ์โควิด 19 ทำให้เกิดความลำบาก และความยากในการจัดการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็นการที่ครูสั่งงานเด็กได้ยาก รับงานเด็กได้ยากและไม่มีการบันทึกผลคะแนนเอง แต่ในทางมหาวิทยลัยราชภัฎสุรินทร์ได้มีโปรแกรม moodle หรือ e-learning ที่ทำให้การสร้างบทเรียนของครูง่ายและสะดวกขึ้น เช่นการสร้างข้อสอบ การให้ส่งงานเป็นคลิปวิดีโอ การสั่งการบ้าน หรือการบันทึกผลคะแนนของระบบอัตโนมัติ และการที่นักเรียนสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ง่าย มีความน่าสนใจแต่จำเป็นที่จะต้องมีอินเทอร์เน็ตเท่านั้น จึงจะเข้าเรียนได้ ซึ่งการเรียนในวิชานี้เป็นวิชาแฮนด์บอล ซึ่งส่วนใหญ่ของการเรียนวิชานี้จะเป็นการปฏิบัติส่วนใหญ่ การใช้โปรแกรม moodle จึงมีความสำคัญกับวิชานี้อย่างยิ่งในช่วงสถานการณ์โควิด 1- นี้ เนื่องจากไม่สามารถเรียนรู้กันในหมู่มากได้ การสร้างบทเรียนวิชาแฮนด์บอลด้วยโปรแกรม moodle จึงทำให้บทเรียนนี้สามารถสร้างบทเรียนออกมาได้มากมายหลายรูปแบบ เช่นการตั้งกระดานเสวนาให้นักเรียนมาช่วยกันตอบ การให้นักเรียนส่งงานเป็นคลิปวิดีโอในการทำทักษะต่าง ๆ ให้สอบท้ายบท เป็นต้น การเรียนการสอนช่วงโควิดจึงเหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์

ฟุตซอล 2
ผลงานการสร้างบทเรียนของนักศึกษา

วิชาฟุตซอลได้จัดทำการเรียการสอนออนไลน์ เนื่องจากปัจจุบันได้เกิดโรคระบาด โรคคิด 19 ทำให้ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างปกติ ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ได้มีโปรแกรม Moodleของ learning srru ที่สามารถสร้างบนเรียนทางออนไลน์ได้ สามารถแทรกวีดีโอ คัดลอกลิงค์ มีการถ่ายทอดสดระหว่างการเรียนออนไลน์ มีแบบสอบถามมากมาย ทั้งตัวเลือก แบบบรรยาย แบบถูกผิด มีกิจกรรมที่นักเรียนสามารถพูดคุยกันได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างนักเรียนกับครู หรือนักเรียนกับนักเรียน มีการตั้งกระทู้ให้เพื่อนมีส่วนร่วมกับกิจกรรม แทรกเนื้อหาที่เป็ฯอินโฟกราฟิกที่ทำให้นักเรียนเข้าใจได้ง่ายและเป็นสื่อที่นักเรียนในความสนใจสามารเร่งเร้าความสนใจของเด็กนักเรีนไม่ทำให้เด็กนักเรียนน่าเบื่อ มีกิจกรรมได้ทำตลอดที่สามารถทำได้บนออนไลน์ผ่านโปรแกรม Moodleที่จะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สะดวกกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ไม่ต้องเรียนในห้องเรียนที่ต้องสมผัสกับเพื่อนกับครู ทำให้เกิดโรคระบาดในโรงเรียน ซึ่งโปรแกรม Moodle นี้ นักเรียนสามารถเข้าถึงการเรียนได้ง่ายเพียงแค่แสกนคิวอาร์โคดและใส่รหัสวิชาเข้าไป ก็สามารถเรียนออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิเทียบเท่ากับในห้องเรียนหรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ ทั้งนี้โปรแกรม Moodle ยังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจในการเรียนออนไลน์ใช้งานง่าย