Section outline
-
กำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการสมรรถนะดิจิทัลแบบออนไลน์สำหรับนักศึกษา ครั้งที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2565
วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม 2566 เวลา 08.30 – 16.30 น.
ผ่านระบบจัดการเรียนการสอนออนไลน์ e-Learning, Youtube และโปรแกรม Cisco WebEx
เวลา
กิจกรรม/หัวข้อการอบรม
วิทยากร
08.00 – 08.30 น.
นักศึกษาลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมด้วยระบบเช็คชื่อ (ช่วงเช้า)
08.30 – 08.45 น.
พิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการสมรรถนะดิจิทัลแบบออนไลน์
08.45 – 10.45 น.
การสืบค้นและการใช้งาน
- สามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รู้วิธีใช้ตัวกรองเพื่อจำกัดผลลัพธ์ (เช่น การค้นหารูปภาพ วิดีโอ หรือสื่อรูปแบบอื่น ๆ)
- รู้วิธีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
- รู้วิธีการจัดระบบ และแบ่งปันทรัพยากร (เช่น เครื่องมือ bookmarking) และตระหนักถึงประเด็นต่าง ๆ เรื่องลิขสิทธิ์และประเด็นการคัดลอกผลงาน
การสอนหรือการเรียนรู้
- สามารถใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายอย่างสะดวกสบายในการเรียนรู้
- สามารถติดตั้งและใช้ซอฟต์แวร์ รวมถึงแอปพลิเคชันที่เป็นประโยชน์บนอุปกรณ์ส่วนตัวทั้งโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต เพื่อช่วยในการรวบรวมและจัดระเบียบบันทึกข้อมูลในการใช้งานส่วนตน
อาจารย์ ดร. สมเกียรติ เพ็ชรมาก
10.45 – 11.00 น.
พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ภาคเช้า)
11.00 – 12.00 น.
การสร้างสรรค์และนวัตกรรม
- สามารถผลิต (และได้ผลิต) สื่อดิจิทัล เช่น กราฟิก คลิปวีดีโอหรือคลิปเสียง และการบันทึกภาพหน้าจอ เป็นต้น
- สามารถเรียนรู้หลักการพื้นฐานได้ตามคำแนะนำและสามารถทดลองทำได้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธงชัย เจือจันทร์
12.00 – 12.30 น.
พักรับประทานอาหารกลางวัน
12.30 – 13.00 น.
นักศึกษาลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมด้วยระบบเช็คชื่อ (ช่วงบ่าย)
13.00 – 14.00 น.
การติดต่อสื่อสารและการประสานงาน
- สามารถใช้เครื่องมือที่หลากหลายได้อย่างสะดวกสบายเพื่อการสนทนาและทำงานร่วมกับผู้อื่นแบบออนไลน์ รวมถึงการแบ่งปันเอกสารและหรือข้อคิดเห็น การประชุมทางไกล (video-conferencing) และการเข้าร่วมสัมมนาผ่านเว็บไซต์ การสัมมนาผ่านเครื่องมือและช่องทางที่หลากหลาย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธงชัย เจือจันทร์
14.00 – 14.15 น.
พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ภาคบ่าย)
14.15 – 16.30 น.
เอกลักษณ์และคุณภาพชีวิต
- ตระหนักถึงประเด็นความปลอดภัยออนไลน์ รวมถึงการปกป้องข้อมูลและภาพลักษณ์ส่วนตน
- ใช้คุณลักษณะด้านความปลอดภัย เช่น ซอฟต์แวร์ต้านไวรัส และการตั้งค่าความมั่นคงปลอดภัยบนอุปกรณ์ รวมทั้งข้อมูลส่วนตัวบนสื่อสังคมออนไลน์
- รู้จักสิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับการป้องกันข้อมูล
- ระมัดระวังและไตร่ตรองในการแบ่งปันข้อมูลกับผู้อื่น และในการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ทางออนไลน์
เครื่องมือและเทคโนโลยี
- สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่หลากหลายได้อย่างคุ้นเคย และใช้คำศัพท์เฉพาะได้พอสมควร
อาจารย์สุวัฒน์ กล้วยทอง